วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความทุกข์ ปัญหาในชีวิตประจำวัน


ความทุกข์ ปัญหาในชีวิตประจำวัน

เราอย่า หงุดหงิดงุ่นง่านในขณะรถติด แต่ให้นึกว่า...เป็นเรื่องธรรมดา  ถ้ามีวิทยุฟังเทปได้  ก็เอาเทปธรรมะไปด้วย เวลานั่งในรถก็เปิดธรรมะฟังเพลินๆไป รถติดก็เปิดเทปฟัง จิตใจจะได้ไม่ต้องยุ่ง.. ไม่วุ่นวาย เอาธรรมะเป็นเครื่องปลอบใจ ดีกว่าเพลงที่เขาร้องให้เราฟัง ฟังเทปธรรมะ ก็จะได้สะกิดใจให้เกิดความนึกคิดในแง่ธรรมะ ฉะนั้นเอาเทปติดรถไปด้วย พอรถติดก็เปิดฟังกัน  ฟังกันไปเรื่อยๆ นั่งรถไปก็ฟังไป แต่ตาก็ต้องดู หูก็ต้องฟังใช้คนละที่ ตาดูรถ หูฟังเสียง มันจะพอไปกันได้ ช่วยให้เราผ่อนคลายจากความทุกข์  ความเดือดร้อนได้
ความทุกข์ เป็นปัญหาในชีวิตประจำวัน ย่อมมีอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เด็กน้อยก็ทุกข์ตามประสาเด็ก  เด็กวัยรุ่นก็เป็นทุกข์ตามประสาวัยรุ่น ผู้ใหญ่ก็ทุกข์ตามประสาผู้ใหญ่  คนจนก็เป็นทุกข์ตามแบบคนจน  คนมั่งมีก็เป็นทุกข์เหมือนกัน .. ทุกข์ตามแบบคนมั่งมี  ไม่ว่าใครจะเป็นอะไรก็ทุกข์ทั้งนั้น ถ้าไม่รู้จักแบ่งเบาความทุกข์ออกไปจากจิตใจ  ไม่ประพฤติธรรม ไม่เอาธรรมะเป็นเครื่องแก้ปัญหาชีวิต เราก้อมีความทุกอยู่เรื่อยไป
ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นเครื่องประกอบกับชีวิต ที่เราจะต้องใช้อยู่ตลอดเวลา ใช้ตั้งแต่เป็นเด็กจยกระทั่งตนแก่เฒ่า  ถ้าเราใช้ธรรมะจนชิน เราก็มีวคามสุขกายสุขใจ แต่ถ้าเราไม่ได้ใช้ธรรมะ เราก็มีปัญหา มีความทุกข์ มีความเดือดร้อน เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมะ ก็เพื่อเอามาใว้ใช้เป็นเครื่องมือประกอบ ... เพื่อแก้ปับหา ให้เราพ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

ข้อคิดดีๆ จากธรรมะประจำวัน

ข้อคิดดีๆ จากธรรมะประจำวัน

อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น ภาวนามากๆ ดูตัวเองมากๆ
หลวงพ่อ (พระโพธิญาณเถร) บอกว่า
"ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90 % ดูตัวเองแค่ 10 %"
คือคอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น


กลับเสียใหม่นะ ดูคนอื่นเหลือไว้ 10 %
ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร
เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ
ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90 % จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่


ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง
โบราณพูดว่า เรามักจะเห็น ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม
มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มากๆ


เห็นความผิดของคนอื่น ให้หารด้วย 10
เห็นความผิดตัวเอง ให้คูณด้วย 10
จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม
เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมากๆ
และตำหนิติเตียนตัวเองมากๆ
แต่ถึงอย่างไรๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ


พยายามอย่าสนใจการกระทำ การปฏิบัติของคนอื่น
ดูตัวเอง สนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมากๆ
เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ
แล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ


ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก
รีบแก้ไข ระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน
เห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร ก็สักแต่ว่า ใจเย็นๆ ไว้ก่อน
ความเห็น ความคิด ความรู้สึกก็ไม่แน่..... ไม่แน่
อาจจะถูกก็ได้ อาจจะผิดก็ได้
เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้
สักแต่ว่า..... สักแต่ว่า..... ใจเย็นๆ ไว้ก่อน ยังไม่ต้องพูด


ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน
เมื่อจิตสงบแล้ว เมื่อจิตปกติแล้ว
จึงค่อยพูด จึงค่อยออกความเห็น
พูดด้วยเหตุ ด้วยผล ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา
ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูด
ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น
ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง
ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร
มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป


เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน
ก็สงบๆ ๆ ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิดๆ ๆ
ดูแต่ตัวเรา ระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มากๆ
พยายามแก้ไข พัฒนาตัวเรา..... นั่นแหละ


เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน
เรื่องของคนอื่น พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา
ถ้าไม่ระวัง ก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อยๆ
หาเรื่องอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด
มีแต่ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ทั้งวัน
อารมณ์มาก จิตไม่ปกติ ไม่สบาย ทั้งวันๆ ก็หมดแรง


ระวังนะ
พยายามตามดูจิตของเรา รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
แม้เขาจะทำกับเรา ว่าเรา..... ก็เรื่องของเขา
อย่าเอามาเป็นอารมณ์
อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา


ดูใจเรานั่นแหละ
พัฒนาตัวเองนั่นแหละ
ทำใจเราให้ปกติ สบายๆ มากๆ
หัด-ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง
ไม่มีอะไรหรอก
ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา
คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข

ธรรมมะ กับชีวิตประจำวัน




ธรรมมะ กับชีวิตประจำวัน

  


หลักแห่งการปฏิบัติธรรม ๕ ประการ

๑. ศีล ด้วยการทำตนให้สงบ ระวังความชั่วทางกาย - ใจ
๒. สมาธิ ต้องฝึกจิต อบรมจิตให้ระงับความวิตกฟุ้งซ่าน
๓. ปัญญา ต้องศึกษาลักษณะจิตด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ในหลักแห่งความจริง
๔. วิมุตติ ต้องเข้าใจลักษณะแห่งจิต ที่พ้นจากเพลิงทุกข์ ว่าเป็นอย่างไร
๕. วิมุตติญาณทัสสนะ ต้องศึกษาถึงความรู้จักตน ว่าอย่างไรจึงรู้แน่
กายสุจริต วจีสุจริตต มโนสุจริต

หัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓ ประการได้แก่

๑.ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
๒.ทำความดีให้ถึงพร้อม
๓.ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้พระอริยสงฆ์จำนวน ๑๒๕๐ รูปที่ต่างมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
ในวันเพ็ญเดือน ๓ (วันมาฆบูชา) เรียกว่า "โอวาทปาติโมกข์ " อันถือเป็นข้อธรรมที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหลาย

ฆราวาสธรรม ๔
คือธรรมสำหรับการครองเรือนในชีวิตของบุคคลทั่วไปได้แก่

๑. สัจจะ คือ พูดจริงทำจริงและซื่อตรง
๒. ทมะ คือ ฝึกหัดแก้ไขปรับปรุง
๓. ขันติ คือ อดทนตั้งใจและขยัน
๔.จาคะ คือ เสียสละ

ธรรมคุ้มครองโลกมี ๒ อย่างคือ

๑.หิริ คือ ความละอายใจในการทำบาป
๒.โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวผลของการทำชั่ว

อิทธิบาท ๔ หรือธรรมที่ช่วยให้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ได้แก่

๑. ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่
๒. วิริยะ คือ ความเพียร
๓. จิตตะ คือ เอาใจฝักใฝ่ ไม่วางธุระ
๔. วิมังสา คือ หมั่นตริตรอง พิจารณาเหตุผล

สัมมัปปาธาน ๔

๑. พยายามเพื่อจะไม่ให้เกิดอกุศลกรรม คือ บาปเกิดในตน
๒. พยายามเพื่อจะละอกุศลธรรม คือ บาปที่เคยเกิดขึ้นแล้วในตน
๓. พยายามเพื่อจะเจริญกุศลธรรม คือ บุญให้มีในตน
๔. พยายามเพื่อรักษากุศลธรรม คือ บุญที่เกิดขึ้นแล้วในตนให้มีอยู่
ข้อแรกคือ ให้ระวังทวารหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ข้อที่เหลือ คือ ต้องขับไล่ของเก่า คืออย่าไปแยแส
ไม่ต้องรำพึง เพียงแต่เจริญสติ

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วได้แสดงปฐมเทศนาโปรดแก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ (ผู้ที่เคยอุปัฏฐากปรนนิบัติพระองค์มาได้แก่ โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ) เป็นครั้งแรก มรรคอันมีองค์ ๘ นี้เป็นข้อปฏิบัติแบบสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ทรงโปรดแก่เหล่าปัญจวัคคีย์

มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑.สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ
    -  ทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)
    -  ความดับทุกข์ (นิโรธ)
    -  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค)
๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่
    -  ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ)
    -  ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
    -  ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่
    -  ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา)
    -  ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย)
    -  ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย)
    -  ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา)
๔.สัมมากัมมันตะ คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม
    และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่
    -  การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต)
    -  การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน)
    -  การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)
๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด การประกอบสัมมาอาชีพคือ
    -  เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์
    -  เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส
    -  เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
    -  เว้นจากการค้าขายน้ำเมา
    -  เว้นจากการค้าขายยาพิษ
๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔ ประการได้แก่
    -  เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น
    -  เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว
    -  เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น
    -  เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่
๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่ การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ
    -  พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย พิจารณาลมหายใจเข้าออก
    -  พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่
    -  พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว รู้เท่าทันความนึกคิด
    -  พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ
๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อ
       ไม่ฟุ้งซ่าน หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่ การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ
    -  ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑
    -  ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒
    -  ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓
    -  จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔

เคล็ดลับการเป็นพหูสูต ๕ อย่าง

๑.ฟังมาก หรือศึกษาเล่าเรียนมาก
๒.จำมาก คือหมั่นสังเกตจดจำสิ่งต่างๆที่เห็นมา เรียนมา
๓.ท่องจนคล่องขึ้นใจ คือจำได้โดยไม่ต้องนึกคิด
๔.เจนใจ คือการคิดจนสร้างมโนภาพในใจขึ้นได้ทันที
๕.ทะลุปรุโปร่ง คือนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาพิจารณาเป็นข้อสรุป อธิบายต้นสายปลายเหตุได้อย่างถูกต้อง

อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการได้แก่

๑.ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒.สิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น
๓.บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔.ทำความเห็นให้ตรง
๕.จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
ไม่ได้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นโอวาทที่ท่านธนัญชัยเศรษฐีได้ให้ไว้กับนางวิสาขาก่อนออกเรือน
ซึ่งถือว่าเป็นข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับสตรีทั่วไป จึงได้นำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้