วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นานาสาระ...4 อย่าเมื่อเกิดปัญหาในชีวิตคู่

นานาสาระ...4 อย่าเมื่อเกิดปัญหาในชีวิตคู่

4 อย่าเมื่อเกิดปัญหาในชีวิตคู่

เมื่อคนสองคนตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน
ล้วนมีความฝันถึงอนาคตอันสวยหรูของชีวิตคู่แทบทั้งนั้น
ร้อยละร้อยต่างพยายามบากบั่นทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยง
เลี้ยงสายใยของความรักความผูกพันให้มั่นคงตลอดไป


แต่ในชีวิตจริง สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดก็มักจะเกิดขึ้นได้ โดยไม่คาดฝันเสมอ
โดยเฉพาะเรื่องชีวิตคู่ แทบจะหาคู่ที่อยู่กันโดยไม่มีปัญหายากเย็นเต็มที
อยู่ที่ว่าคู่ไหนจะมีปัญหามากน้อยเท่านั้น
และอยู่ที่ว่าเราจะฟันฝ่าปัญหาให้หมดไปได้อย่างไร


นี่คือสิ่งที่ท้าทายการใช้ชีวิตคู่อยู่เสมอมา


เมื่อพิจารณาอย่างคร่าวๆ แล้วพบว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาในชีวิตคู่
...ต้องพยายามหาทางทำให้ปัญหาหยุดอยู่กับที่
ก่อนที่จะหาทางแก้ไขกันอย่างจริงจังต่อไป...



ปัญหาจะหยุดได้ต้องพึงใส่ใจถึงหลัก 4 อย่า คือ


1. อย่าคุยกันตอนมีอารมณ์

เราต้องยอมรับความจริงว่าหลายครั้งทีเดียว
เมื่อมีปัญหาเข้ามาในชีวิตคู่จะมีอารมณ์ไล่หลังตามมาติดๆ
เหมือนญาติสนิทกันเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็ก หรือปัญหาใหญ่
มีตั้งแต่อารมณ์โกรธอารมณ์เกลียด อารมณ์ชัง หรือแม้กระทั่งอารมณ์งอน


เมื่อเกิดอารมณ์ คนรักก็มักจะลืมเหตุลืมผล
ถ้าเอาอารมณ์เป็นใหญ่ เอาอารมณ์เป็นตัวตัดสินใจ ในปัญหานั้นๆ
ผลลัพธ์ที่ออกมามักจะไม่ทำให้แก้ปัญหาได้ มีแต่จะเพิ่มปัญหาให้มากยิ่งขึ้น


เคยมีตัวอย่างมากมายที่ "ความตาย" มาเยือนชีวิตคู่
เพราะพยายามพูดกันเพื่อแก้ปัญหาตอนมีอารมณ์
จากเรื่องเล็กๆ ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ถึงขนาดฆ่ากันตายมาแล้วหลายคู่
อย่าทำเป็นล้อเล่นไป


การคุยกัน เพื่อแก้ปัญหาตอนมีอารมณ์
จะไม่มีทางแก้ปัญหาให้เสร็จสมอารมณ์หมายได้เลย
เพราะทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งหมายที่จะ เอาชนะคะคานกัน
มากกว่าหันหน้ามาแก้ปัญหา คำพูดคำจาที่ออกมา
นอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้ว บางทียังทำให้เพิ่มปัญหาให้มากขึ้นซะด้วยซ้ำ


ที่พบเห็นบ่อยๆ ของการพูดกันขณะที่อารมณ์
คือ มักจะพูดแบบยียวนกวนประสาท
ทั้งๆ ที่เวลาปกติธรรมดา ที่ไม่มีอารมณ์
จะเป็นคนที่พูดจาไพเราะเสนาะโสตก็ตาม
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร แต่มักจะเป็นแบบนี้ มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ


เวลาคนเรามีอารมณ์เรามักจะข่มใจตนเองไม่อยู่
และมักจะมองดูคู่สนทนาที่มีสถานภาพเป็น "คู่ชีวิต" ของเราแท้ๆ
กลายเป็น "คู่อาฆาต" ไปได้


เมื่อมองคู่สนทนาเป็นคู่อาฆาต ก็แทบประกาศ ผลล่วงหน้าได้เลยว่า
จะมีแขกชื่อ "ความร้าวฉาน" มาเยือนถึงชานเรือนอย่างแน่นอน
วันใดก็ตามที่ชีวิตคู่เกิดความร้าวฉาน
มักจะยากที่จะประสานให้เป็นเนื้อเดียวกันได้เหมือนเดิม


ในบางกรณีอาจจะมีการประสานกันได้
หลังจากใช้อารมณ์คุยกันเมื่อเกิดปัญหาไปในระยะหนึ่งแล้ว
แต่เชื่อเถอะว่าจะเป็นการประสานที่ไม่สนิท
มีสิทธิที่จะร้าว มีสิทธิที่จะแตก มีสิทธิที่จะแยกได้ง่าย


ทางที่ดีที่สุด คือ ต้องหยุดคุยกันทันทีเมื่อมีอารมณ์
แน่นอนที่สุด อารมณ์ของทั้งสองฝ่ายคงไม่ได้เกิดพร้อมกันทันที
ย่อมต้องมีใครมีอารมณ์ขึ้นมาก่อน
ควรสอนใจตัวเองตลอดเวลาว่า
เมื่อต้องสนทนาเพื่อแก้ปัญหากับคู่ชีวิตของเราแล้ว
เขาหรือเธอเกิดมีอารมณ์ขึ้นมา
อีกฝ่ายต้องระงับอารมณ์ อย่าให้มีขึ้นมาเหมือนกัน
แต่ควรจะหันหลังให้แล้วไปทำธุระอื่นๆ สักระยะ
จนกว่าอารมณ์ที่กำลังพวยพุ่งของอีกฝ่ายจะหายไปก่อน
ค่อยย้อนมาคุยกันใหม่


2. อย่าคุยกันแบบหูทวนลม

เมื่อทั้งสองฝ่ายระงับอารมณ์กันได้แล้ว
และพร้อมที่จะสนทนาเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งควรคิดคำนึงถึงตลอดเวลา
คือ ท่าทีของการสนทนา ถึงแม้จะนั่งคุยกันแบบไม่มีอารมณ์แล้ว
แต่ถ้าท่าทีของการสนทนาไม่ดี
โอกาสที่จะแก้ปัญหา ก็ยากเย็นแสนเข็ญเหมือนกัน


ท่าทีที่พึงระมัดระวัง คือ ท่าทีการสนทนาแบบหูทวนลม
ตามปกติทั่วไปเมื่อคนเราคิดจะคุยกันก็ต้องพึงมีท่าที
ที่เรียกว่า "รับฟังซึ่งกันและกัน" ไม่ใช่ฟังแบบขอไปที
หรือฟังแบบมีท่าทีหูทวนลม ถ้าเป็นแบบนี้ก็คุยกันไม่ได้นาน
และมักจะมีอาการ พาลพาโลตามมา
ในไม่ช้าก็จะมีอารมณ์ ตามมาอย่างแน่นอน


เมื่อมีอารมณ์เมื่อไร ก็เหมือนอย่างที่บอกไปแล้วในข้อแรก
ว่าอะไรจะเกิดขึ้น จึงต้องพึงสังวรณ์ได้ตลอดเวลา
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นให้นึกถึงคำว่า "อย่า" ที่นำมาฝากให้จงหนัก


จงช่วยทำให้ปัญหาหนักกลายเป็นปัญหาเบา
ช่วยให้ปัญหาเบากลายเป็นปัญหาบาง และเจือจางไปในที่สุด


3. อย่าตัดสินใจอะไรในทันที

ตามธรรมดาเมื่อคนเราที่เคยจู๋จี๋กัน อย่างมีความสุขมา
อาจจะสั้นบ้างยาวบ้างก็เถอะ
เมื่อมีเรื่องเลอะเทอะเปรอะเปื้อนเข้ามาสู่ชีวิตคู่
ทุกคู่มักอยากให้ "ปัญหา" ที่ใครเป็นผู้ก่อขึ้นมาก็ตาม ไม่ลุกลามต่อไป
จึงมักตัดสินใจในทันที ที่จะ "หยุดปัญหา"
ด้วยหวังว่าปัญหาจะได้หมดๆ ไป
หรือก็เพื่อจุดประสงค์ที่ว่า จะได้ลืมๆ กันไป


แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราต้องยอมรับว่า "ปัญหายังไม่ได้หมดไป"
ปัญหายังดำรงอยู่ เพียงแต่ว่ามันอาจจะซุกอยู่ใต้พรม
และมีแนวโน้มจะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าเรายังพึงพอใจกับการตัดสินใจในทันที เพื่อที่จะหยุดปัญหาแบบนี้
ทางที่ดีควรหาทางแก้ปัญหา ด้วยการจับเข่าคุยกันแบบ "ไม่มีอารมณ์"
และ "ไม่มีท่าทีแบบหูทวนลม"


นอกจากนี้ ก็ไม่ควรตัดสินใจอะไรในทันที
ถึงแม้จะนั่งจับเข่าคุยกันนานแสนนาน แต่ก็ยังไม่พานพบ "ทางออก"


การตัดสินใจทันทีเมื่อเกิดปัญหาในชีวิตคู่แล้ว หาทางออกไม่ได้
มักตามมาด้วยการหลุดวาจาคำว่า "หย่าร้าง" หรือ "แยกทางกัน" ออกมา
เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหลุดคำนี้ออกมาเมื่อไร
ถึงจะพูดด้วยท่าทีธรรมดาๆ แค่ไหน
ก็มักจะแฝงความรู้สึกว่าถูก "ท้าทาย" จากอีกฝ่ายอย่างช่วยไม่ได้
จึงไม่ควรตัดสินใจทันทีที่จะพูดคำว่า "หย่า" ออกมา
เมื่อชีวิตคู่มีปัญหาแล้วหาทางออกไม่ได้


ทางที่ดีควรมีเวลาคุยกันมากขึ้นอีกหลายๆ ครั้ง
ถ้าไม่มีอคติในจิตใจกันจนเกินไป จะพบว่า การคุยกันครั้งต่อๆ มา
สถานการณ์จะแตกต่างกว่า การคุยกันครั้งแรก และแนวโน้มโดยทั่วไป
สถานการณ์การคุยกันครั้งต่อๆ มา
น่าจะมีบรรยากาศที่ดีกว่าการคุยกันครั้งแรก
และไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย ที่เรามักจะหาทางออกได้ในที่สุด


ในทางกลับกันเมื่อคุยกันแล้ว เกิดหาทางออกได้
ก็อย่าเพิ่งตัดสินใจทันทีถึง "ทางออก" ที่หาได้ในขณะนั้น
เพราะมันอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดก็ได้
ควรทอดเวลาของการตัดสินใจออกไปสักระยะเวลาหนึ่ง จึงค่อยตัดสินใจ


ในความเป็นจริงของชีวิตจะพบว่า
เมื่อทอดเวลาออกมาสักระยะหนึ่งจึงตัดสินใจ
เรามักจะพบการตัดสินใจที่ดีกว่าเสมอ
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ แล้ว
"อย่าตัดสินใจอะไรทันที" เมื่อมีปัญหาในชีวิตคู่


4. อย่าคิดถึงตัวเองมากเกินไป

โดยปกติธรรมดา เมื่อคนเรามีปัญหาขึ้นมา
ก็มักจะคิดถึงแต่แง่มุมของตนเอง คิดถึงแต่เหตุผล ที่เข้าข้างตนเอง
คิดถึงแต่ความถูกต้องของตนเอง มักจะลืมฟังเหตุผลของอีกฝ่าย
เมื่อเราไม่ฟังเหตุผลของอีกฝ่าย เมื่อเราไม่ฟังเหตุผลของอีกฝ่าย
ก็ยากที่จะหาข้อสรุปที่เป็นทางออกที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับได้


ลองนึกถึงอกเขาอกเรา ถ้าอีกฝ่ายไม่ยอมฟังเหตุผลของเราบ้างเลย
เราจะยอมไหม เราก็คงไม่ยอม ฉันใดก็ฉันนั้น
เมื่อคิดจะหาทางออกร่วมกัน จากปัญหาในชีวิตคู่ที่เกิดขึ้น
ต้องมีจุดยืนอยู่ที่ว่า "อย่าคิดถึงตัวเองมากเกินไป"


ในอีกมิติหนึ่งของ "อย่าที่ 4" นี้
นอกจากจะต้องคิดถึงอีกฝ่ายที่เป็นคู่ชีวิตเราไปพร้อมๆ กับการคิดถึงตัวเองแล้ว
ก็อยากฝากเป็นข้อคิดไว้ อีกนิดหนึ่งสำหรับชีวิตคู่ที่มี "ลูก" อยู่ด้วยว่า
"อย่าคิดถึงตัวเองสองคนที่เป็นคู่กรณีมากเกินไป ให้คิดถึงลูกด้วย"


เพราะการตัดสินใจใดๆ ของเราย่อมเข้าไปมีส่วน
เป็นผลกระทบต่อลูกบ้างไม่มากก็น้อย
เมื่อทั้งคู่หันมาคิดถึงลูกเมื่อเกิดปัญหาชีวิตคู่
อะไรๆ ก็อาจจะดูง่ายเข้าต่อการแก้ปัญหา


ลองคิดเพียงง่ายๆ ว่า เราเป็นผู้สร้างปัญหา
แต่ลูกต้องมามีผลกระทบรับกรรมไปด้วย มันถูกหรือไม่
ลองใช้วิจารณญาณพิจารณาดู ก็น่าจะรู้ได้ดี


ทั้ง 4 อย่าเมื่อเกิดปัญหาในชีวิตคู่ที่จาระไนมานี้
คงมีประโยชน์บ้างตามสมควรแก่กรณี สำหรับผู้ที่อยากแก้ปัญหา
แต่ถ้าไม่อยากแก้ปัญหา ก็ทำตรงข้ามทุกอย่าง
รับรองต้องได้ "หย่า" กันแน่นอน


กนกวลี



ที่มา...หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
http://www.elib-online.com/doctors/mental_divorce01.html 

วิธีแก้กรรมเรื่องเนื้อคู่

วิธีแก้กรรมเรื่องเนื้อคู่ 

 เรื่องเนื้อคู่นั้นตามหลักความเป็นจริงทุก ๆ คนจะมีเนื้อคู่แท้เป็นของตัวเอง
แต่ จะมีสักกี่คนที่จะได้เกิดมาร่วมกันเป็นเนื้อคู่แท้ และมีอีกหลายคนที่จะได้อยู่ร่วมกับคู่ครอง คู่กรรม คู่อื่น ๆ ที่ยังไม่ใช่เนื้อคู่แท้
ต้องแจ้งให้ทราบว่า ดวงคนเราทุกคนนั้นตามหลักความจริงมีเนื้อคู่แท้กันทุกคน
แต่ใครจะได้เกิดมาอยู่ร่วมกับเนื้อคู่แท้ของตนเท่านั้นเอง ที่พิมพ์แจ้งอย่างนี้ก็เพราะกรรมแต่ละคนทำมาไม่เหมือนกัน
บางท่านทำกรรมกับคนอื่นที่ไม่ใช่คู่ของตนมามากมาหลายภพชาติ
ก็จะทำให้เกิดมาในชีวิตนี้จะไม่ได้เจอและอยู่ร่วมกับเนื้อคู่ของตน
และจะได้ใช้กรรมกับคู่กรรม คู่ครอง คู่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เนื้อคู่แท้ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานดั่งเช่นทุกวันนี้
วิธีแก้กรรมเรื่องเนื้อคู่
1. ความซื่อสัตย์ต่อคนรัก
2. ความมั่นคงในความรัก
3. การไม่คิดและนอกใจต่อคนรัก
4. การไม่ผิดคู่ ลูก สามี หรือภรรยาใคร
5. ไม่พูด ไม่ทำให้คนที่รักกันต้องแตกแยกจากกัน (รักกันด้วยความถูกต้องด้วยความดี)
6. และสุดท้ายที่ห้ามทำอย่างเด็ดขาดคือการเป็นพ่อสื่อ แม่สื่อให้กับใคร เพราะจะเป็นกรรม ทำให้เราเกิดมาต้องพลัดจากคู่ครอง คู่แท้ คู่รักของตน
และคุณรู้ไหมว่าที่คุณเกิดมาในชีวิตนี้เกิดมาแล้วไม่เจอเนื้อคู่ ไม่ได้ครองรักกับเนื้อคู่แท้
เพราะคุณต้องผิดในข้อใดข้อหนึ่งในเรื่องการแก้กรรมเรื่องเนื้อคู่ที่พิมพ์แจ้งดั่ง ข้างต้น 6 ข้อนี้ เอง
แต่ถ้าในชีวิตนี้คุณ มีพร้อมทั้ง 6 ข้อ แต่ยังโดนคนรักไม่ซื่อสัตย์ต่อคุณ คุณจงยินดีกับการที่ได้รับเช่นนั้น
เพราะคุณได้ใช้กรรมในอดีตที่เคยทำมา ไม่ว่ากรรมจะมาจากอดีตชาติใดก็ตาม เพราะกรรมเก่านั้นย่อมส่งผลตามมาทุกชาติ
ถ้าเราได้ใช้กรรมมากเท่าใด จะเป็นผลดีกับตัวเราเอง ดีกว่าไปใช้กรรมในชาติต่อ ๆ ไปซึ่งจะเป็นทุกข์ไม่สิ้นสุด
รีบใช้กรรมให้หมด และอย่าสร้างกรรมในชีวิตปัจจุบันนี้ให้มากละ เพราะมันจะส่งผลต่อ ๆ กันไปทำให้กรรมมากยิ่งขึ้น
ทำกรรมในชีวิตปัจจุบันด้วยความดีความถูกต้อง แล้วศร ดวงของคุณจะชี้ไปในทางทีดี
เกิดในชาติ ภพใดก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ และมีคู่รักที่ดีอยู่เสมอ
และ การแก้กรรม ถ้าทำได้ดั่งเช่นที่ได้พิมพ์แจ้งให้อ่านมา คุณจะแก้กรรมเรื่องความรักได้ถูกต้องอย่างแท้จริงนี้คือหลักกรรม ที่ต้องแก้ด้วยกรรม
คือการกระทำของตัวคุณเอง เคยทำอย่างไรต้องได้อย่างนั้น และกรรมไม่มีใครแก้ให้เราได้ นอกจากตัวเราเอง ด้วยเหตุ และผล
ถ้าไม่มีเหตุผลในปัจจุบันคงไม่เกิดขึ้นมา คิดด้วยปัญญาแล้วคุณจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทันทีเดียว 
การแก้กรรมเรื่องคู่ต่าง ๆ
1. แก้กรรมร้างคู่
คน บางคนขาดคู่แท้ คู่ถาวรเพราะวิบากกรรม ชาติก่อนอาจเคยทำให้คู่รักต้องเลิกกันไปโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม หรืออาจเคยพรากคู่รักให้แยกจากกัน หรือเคยยุยงให้เขาแตกกัน หรือขัดขวางมิให้เขาได้ครองคู่กัน
การแก้กรรมดวงที่ร้างคู่ให้ปฏิบัติ ดังนี้
1.1 ถวายเทียนคู่หรือแจกันคู่
ถวายให้ครบ 9 วัดอย่างต่อเนื่อง จะทำบุญเดือนละ 1 วัดหรือ 2 วัดก็ได้ตามแต่สะดวก
ให้ถวายในวันเกิดของตน เช่น คนเกิดวันพุธ ก็ไปทำบุญวันพุธ อธิษฐานจิตขอทำบุญเพื่อแก้วิบากกรรม ตั้งจิตภาวนาขอพรเรื่องคู่ตามที่หวัง
 (สามารถถวายสิ่งของอื่นแก่วัดได้ แต่ควรถวายสิ่งของที่ใช่เป็นคู่ เช่น เชิงเทียน)
2. แก้กรรมชีวิตคู่ไม่ราบรื่น
อาจเป็นเพราะชาติปางก่อน ทำบุญร่วมกันโดยไม่เต็มใจ
จึงเกิดมาเป็นคู่กัน แต่ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่น
หรือเมื่อครั้งที่เคยเป็นคู่กันนั้น ขาดความปรองดองต่อกันหรือร่วมมือกัน จึงต้องมาทะเลาะเบาะแว้ง ให้แก้กรรมโดยปฏิบัติ ดังนี้
2.1 ร่วมใจกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ ต้องเป็นประจำสม่ำเสมอ ทุกกเช้า วันเว้นวัน หรือทุกอาทิตย์
2.2 ร่วมกันทำบุญถวายสังฆทานสม่ำเสมอ ทุกเดือน หรือ ทุก 3 เดือน
2.3 ร่วมกันสวดพระคาถาบท ทุกวันพระเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นสวดทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ
2.4 เป็นเจ้าภาพหรือร่วมเป็นเจ้าภาพ เกี่ยวกับงานเลื้ยงวิวาห์ ออกแรงหรือออกเงินช่วยงานแต่งงานของคู่บ่าวสาวที่ไม่รวยนัก ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ที่เรารู้จักคุ้นเคยดี
2.5 ตั้งตนชอบอยู่ในจริยธรรมอันดี คิดดี พูดดี และทำดีต่อคู่รักทุกคู่ มิว่าจะรู้จักกันดีหรือไม่ ช่วยให้คู่รักเขาได้สมรักหรือได้เข้าใจกัน ไม่ทำให้เขาแตกร้าวกัน จะได้อานิสงค์แรงมาก
3. แก้กรรมคู่ไม่สมพงศ์ดวงกัน
คู่ที่มีดวงไม่ถูกโฉลกกัน หรือไม่สมพงศ์กันในทางพื้นเรือนชะตา เมื่อมาครองคู่ด้วยกันแล้ว
ชีวิตมักจะขรุขระไม่ราบรื่น มีอุปสรรคให้ฟันฝ่าจนเหนื่อยเสมอ หรืออาจมีความลุ่ม ๆ ดอน ๆ ก้าวหน้าช้า
มีความขัดสน หรือมีปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้หาความสุขสบายแท้จริงไม่ได้ ให้แก้กรรม ดังนี้
3.1 ร่วมกันทำบุญ ทำทานสม่ำเสมอ ทำบุญด้วยการออกแรงแทนเงินก็ได้ นำข้าวของไปบริจาคคนยากไร้ ไปอาสาช่วยงานบุญที่วัด
3.2 ร่วมกันตักบาตรพระสงฆ์
3.3 ไปไหว้พระ ทำบุญเติมน้ำมันตะเกียงร่วมกัน
3.4 ไปไหว้ศาลหลักเมืองด้วยกัน
3.5 ร่วมกันปล่อยนก ปล่อยปลาย ปล่อยหอยขม โดบไปซื้อปลาที่ตลาดสดมาปล่อย หรือไถ่ชีวิตสัตว์
3.6 ร่วมกันล้างบ้าน จัดบ้านใหม่ ไหว้พระที่บ้าน ไหว้เจ้าที่เจ้าทาง
4. อธิษฐานขอฟ้าให้พบหน้าคู่แท้
ต้อง ฟังผู้หลักผู้ใหญ่หรือคนในครอบครัวที่สูงวัย ที่ให้คำแนะนำ ตรงนี้เป็นบุญประการหนึ่ง บุญนี้จะหนุนนำให้ได้คู่ที่ดี ให้ได้ลูกที่ดีในลำดับต่อไป ต่อมาเป็นเรื่องของการทำบุญ คือไม่ทำให้คุณพ่อ คุณแม่เดือดร้อน ปู่ย่าตายายเดือดร้อน ร้อนกายร้อนใจว่าเราเอกเขรกเกเร ทั้งนี้จะเป็นบุญกุศลหนุนนำให้เราได้พบคู่รักอันเป็นคู่แท้ประการหนึ่ง อีกหลาย ๆ ประการที่กล่าวถึงดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นบุญกุศลในเรื่องที่จะให้สมหวังในความรักทั้งนั้น
การ กตัญญูกตเวทิตาต่อบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ในวงศ์ตระกูล ทำบ้านให้ร่มเย็นเป็นสุข การทำบุญกับบ้านเด็กกำพร้า การบริจาค หรือการทำบุญกับบ้านคนชรา การบริจาค หรือการทำบุญให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ การบริจาคหรือการทำบุญกับมูลนิธิเพื่อนหญิง หญิงที่ถูกทำร้าย การบริจาคหรือการทำบุญกับโรงพยาบาล เป็นส่วนสำคุญที่จะเป็นบุญแรง เป็นบุญใหญ่ หนุนนำให้เกิดความสุขและความสำเร็จในเรื่องความรัก เพราะสถานที่ที่ได้กล่าวถึง มีสื่อทางจิตวิญญาณอันสัมพันธ์เกี่ยวกับบุญวาสนาบารมี ที่จะเกื้อหนุนให้เกิดพลังของผลบุญที่เกื้อหนุนในเรื่องของความรักและชีวิต ครอบครัว เมื่อทำบุญแล้วต้องมีการอธิษฐานบุญ ขอให้ตั้งจิตอธิษฐาน เมื่อท่านสงบนิ่งแล้วให้ระลึกถึงสิ่งที่เป็นผลบุญที่ได้กระทำอันเกี่ยวข้อง กับสิ่งที่ท่านได้ทำบุญมา และให้อธิษฐานว่า
“ขอให้ข้าพเจ้า ชื่อ-นามสกุลของท่าน ขอให้ประสบความสุข ความสำเร็จโดยเฉพาะในเรื่องของชีวิตคู่ เรื่องของครอบครัวขอให้มีความสุข ขอให้ได้พบคู่แท้ดังที่ปรารถนา หากใครก็ตามที่เป็นคู่แท้ ก็ขอให้พบโดยเร็วพลัน ขอให้ได้เรียนรู้ ขอให้อย่าได้พบกับคนที่หลอกลวง แต่ถ้าหากใครคิดจะหลอกลวง ทำร้าย ทำลายน้ำใจให้มีความรู้สึกเจ็บช้ำ จงอย่าได้กล้ำกลายเข้ามา ขอให้ห่างไกลหลีกลี้หนีไปจากบารมี หลีกลี้ไปจากเรา ขอให้มีบารมี บุญบารมีธรรมคุ้มครองเราด้วยเถิด หากใครเป็นคู่แท้แล้วไซร้ก็ขอให้จงมีโอกาสเข้ามาใกล้ ประดุจเทพอุ้มสม คือเทพหนุนนำ เทวดาชักพา ให้เกิดการพบหน้า มีจิตประภัสสรให้เกื้อหนุนกันต่อไป จากปัจจุบันถึงอนาคตด้วยเถิด สาธุ”
อะไร ประมาณนี้ ท่านก็จะสมหวังตามที่ปรารถนา ส่วนอธิษฐานมีส่วนเหมือนกัน กล่าวคือ ท่านที่เกิดวันอาทิตย์นั้น การอธิษฐานควรจะอธิษฐานหรือทำบุญในวันอาทิตย์หรือวันพฤหัสบดี ท่านที่เกิดวันจันทร์ควรจะทำบุญอธิษฐานขอพรจากเทวดาฟ้าดิน ในวันจันทร์หรือวันพุธ ส่วนท่านที่เกิดวันอังคารควรขอพรจากเทวดาฟ้าดินในวันอังคารและวันศุกร์ ท่านที่เกิดวันพุธกลางคืนควรอธิษฐานขอพรในวันพุธกลางคืนและวันเสาร์ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของการอธิษฐานขอฟ้าให้พบหน้าคู่แท้ หวังว่าท่านคงไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อความสุขของท่านเองและคนรอบข้าง ให้สมหวังดังที่ปรารถนา พบรักในเร็ววัน


ธรรมะกับชีวิตประจำวัน : วิธี ‘สะเดาะเคราะห์’ ที่ถูกหลัก

ธรรมะกับชีวิตประจำวัน : วิธี ‘สะเดาะเคราะห์’ ที่ถูกหลัก

ความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ ความเสื่อม ความเจริญ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้น เกิดจากตัวเราเอง คือเราทำ ให้มันเกิดขึ้น เราคิด เราพูด เราทำ เราคบหาสมาคม เราไปมาในที่ต่างๆ แล้วมันก็เกิดอะไรขึ้นในชีวิตของเรา
       ไม่ได้เกิดอำนาจอะไรภายนอก แม้จะมีเรื่องภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ไม่ใช่ตัวการใหญ่ ตัวการใหญ่มันอยู่ที่ตัวเราเองทั้งนั้น
       แต่ว่าคนเรานั้นมีความผิดประจำตัวอยู่ประการหนึ่ง คือไม่ยอมรับว่าตัวผิดคนที่ทำอะไรไม่ถูกต้อง แล้วไม่ยอมรับว่าตัวผิด มีมากในบ้านเมืองของเรา มีอยู่ทั่วๆไป
       การไม่ยอมรับว่าตัวผิดนั่นแหละ คือตัวปัญหาของชีวิต 
       เช่นเรื่องสุข เรื่องทุกข์ เรื่องเสื่อม เรื่องเจริญ เรื่องดี เรื่องชั่วอะไรต่างๆ ที่มันเกิดขึ้น เราไม่ยอมรับว่าเป็นเรื่องของเรา เราก็แก้ไม่ได้ เพราะไปแก้ที่ภายนอก
       ไปแก้ที่ดวงดาวไปแก้ไม่ได้ ไปแก้ที่วันปีเกิด มันก็แก้ไม่ได้ เพราะว่าเราเกิดมาแล้ว เราจะถอยเข้าไปในท้องของคุณแม่แล้วเกิดใหม่ มันก็ไม่ได้ นอกจากไปทำพิธีบ้าๆ บวมๆ เช่นว่า ช้างที่มาเที่ยวเดินอยู่ในกรุงเทพฯ เขาให้คนที่มีความเชื่อปัญญาอ่อน ไปลอดใต้ท้องช้างสามรอบ สามครั้ง ครั้งละ ๒๐ บาท เสียเงินไม่ใช่ลอดเฉยๆ เสียเงินให้ควาญช้างเอาไปซื้อหญ้าให้ช้างกิน ลอดไปลอดมาถือว่าเกิดใหม่ มีชีวิตใหม่ อย่างนั้นมันไม่ได้ตั้งต้นชีวิตใหม่อะไร ยังโง่อยู่เท่าเดิมนั่นเอง
       มีคนคนหนึ่ง แกนึกว่าแกเคราะห์ร้าย เลยไปคิดว่าจะไปลอดใต้ท้องช้าง แล้วเวลาไปหมาที่คุ้นเคยมันไปด้วย หมาเมื่อไปถึงมันเห็นเท้าช้างเป็นของประหลาด เพราะมันใหญ่กว่าอะไรทั้งหมด มันก็เลยไปกัดเท้าช้าง คนนั้นกำลังลอด ช้างมัน จั๊กจี้ มันก็กระดิกเท้าเตะหมา แต่หมามันหลบทันเพราะตัวมันเล็ก คนที่กำลังคลาน หลบไม่ทัน เลยไปเตะเข้ากลางตัว ซี่โครงหักตาย ตายเพราะหาเรื่องจะไปเกิดใหม่นั่นเอง เกิดใหม่แบบนี้มันไม่ถูกต้อง มันไม่เป็นธรรม ไม่เข้าเหตุผล
       เราจะเกิดใหม่ก็ได้ ทุกคนเกิดใหม่ได้ เกิดใหม่หมายความว่า เรารู้ว่าผิดอะไร เราไม่ดีในเรื่องอะไร แล้วเราตั้งใจว่า จะไม่ทำเช่นนั้นอีกต่อไป เช่นสมมติว่าเราเป็นคนชอบดื่มสุราเมรัย สิ่งเสพติด ชีวิตร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมทรัพย์สมบัติก็เสื่อม การงานก็เสื่อม อะไรๆก็เสื่อมไปหมด เสียหาย แล้วไปได้ฟังพระ ท่านบอกว่า การดื่มของมึนเมามันให้โทษหลายอย่างแก่ชีวิตร่างกาย ก็เกิดรู้สึกตัวขึ้น พอรู้สึกตัวก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จะเลิกไม่ดื่มสุราเมรัยอันเป็นยาเสพติด ต่อไปนี้เกิดใหม่แล้ว ตั้งแต่วินาทีที่ตั้งใจว่าจะไม่ดื่มของมึนเมา ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่สูบกัญชา ยาฝิ่น ยาม้า อะไรก็ตาม ไม่แตะต้องมันอีกต่อไปเลย เลิกเด็ดขาด คนนั้นได้ชื่อว่าเกิดใหม่แล้ว แล้วก็ชื่อว่าสะเดาะเคราะห์ออกไปได้
       สะเดาะความชั่วนั่นแหละสะเดาะเคราะห์ ไม่ใช่มาวัดแล้วทำพิธีสะเดาะเคราะห์ แล้วกลับไปก็เหมือนเดิม เมาอย่างใดก็เมาอยู่อย่างเดิม เคยประพฤติชั่วอย่างใด ก็ประพฤติอยู่อย่างเดิม อย่างนี้ไม่ได้สะเดาะอะไร ไม่ได้เอาความชั่วออกจากตัว
       การสะเดาะเคราะห์ตามหลักพุทธศาสนานั้น เราจะต้องรู้จักว่า เรามีอะไรเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ เกิดเคราะห์ร้ายขึ้นในชีวิต เราค้นหาเหตุนั้นให้พบ เมื่อพบเหตุนั้นแล้วตัดเหตุนั้น คือเลิกไม่ประพฤติ ไม่ปฏิบัติในเรื่องนั้นต่อไป อย่างนี้เรียกว่า สะเดาะเคราะห์เด็ดขาด เคราะห์ร้ายจะไม่เกิดขึ้นแก่เราต่อไป 
       …อะไรๆ มันขึ้นอยู่กับตัวเราเอง อันนี้สำคัญ พระพุทธศาสนาสอนให้เรารู้จักช่วยตัวเอง ให้เรารู้จักพึ่งตัวเอง การช่วยตัวเอง การพึ่งตัวเองนั้น ต้องเอาพระธรรมคำสอนมาเป็นหลักในการช่วยตัวเอง ในการพึ่งตัวเอง เพราะธรรมนั้นเป็นสิ่งถูกต้อง เป็นสิ่งอำนวยความสุขให้แก่เรา ถ้าเราเอาธรรมะมาใช้…

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทรัพย์อันประเสริฐ คือ ทรัพย์ที่ไฟไหม้ไม่หาย น้ำท่วมไม่หมด โจรปล้นก็ไม่ต้องกลัว

ทรัพย์อันประเสริฐ คือ ทรัพย์ที่ไฟไหม้ไม่หาย น้ำท่วมไม่หมด โจรปล้นก็ไม่ต้องกลัว
อันนี้พระพุทธเจ้าเรียกว่า อริยะทรัพย์
บุคคลที่พระองค์ทรงมอบให้ หรือทรงฟังเรื่องอริยะทรัพ์เป็นคนแรก คือ สามเณรราหุล
ซึ่งเป็นธรรมชาติที่พ่อต้องการให้สมบัติกับลูกหลาน พระองค์จึงทรงให้บุตรของท่านเป็นคนแรก อันได้แก่


1) มีศรัทธา
คือเชื่อในสิ่งที่ใช้ปัญญาวิจารณ์และพิจารณา
ความหมายของศรัทธา คือ ต้องเชื่อ เชื่อว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีชั่ว เลวหยาบ
เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย มีกรรมเป็นที่มาและที่ไป เราเป็นอยู่ได้เพราะอาศัยกรรม
การเชื่อเรื่องกฎของกรรม ทำให้เชื่อต่อไปว่า ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว
คนที่มีศรัทธาและเชื่อก็จะขยันทำดี ขยันที่จะปฏิเสธความชั่ว เพราะเมื่อเชื่อก็ย่อมเกรงกลัวต่อบาป
พระองค์ทรงย้ำว่า ให้เชื่อในกฎของกรรมที่จะติดตัวไปในภพหน้าหลังความตาย


2) ศีล
การรักษาศีลจะทำได้ดีต่อเมื่อมีความระอายชั่วกลัวบาป หัวใจของการรักษาศีล มี 2 อย่าง คือ

2.1 การละอายชั่ว-กลัวบาป

2.1 อินทรีย์สังวร คือ สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ได้
คือ ตาเห็นรูปสวย หูฟังเสียงเพราะ จมูกดมกลิ่นหอม สิ้นรับรู้รสอร่อย
กายถูกต้องสัมผัส ใจรู้อารมณ์ ถ้าระวังอินทรีย์ทั้ง 6 ได้ สรุปสุดท้ายอินทรีย์ สำคัญที่สุดคือระวังใจ
ถ้าระวังใจได้ ก็รักษาศีลได้ทุกข้อ แต่ถ้าระวังใจไม่ได้ ศีลข้อไหนก็รักษาไม่ได้
แล้วระวังใจ ระวังอย่างไร แค่ระวังให้มีความละอายชั่ว
ระวังให้เกรงกลัวต่อผลที่จะทำผิดบาป อย่างนี้เรียกว่าผู้รักษาศีล หรือผู้เจริญศีล


พระพุทธศาสนา เข้ามาเมืองไทยหลายร้อยปีแล้ว ไม่ว่างานอะไรก็ต้องขอศีลก่อน
แต่มีใครบ้างที่ได้ศีลและอนิสงค์ของศีลกลับมาบ้าง เพราะที่ผ่านมาเรารับศีลแต่เพียงลมปาก
ศีลไม่จำเป็นต้องท่องศีลให้คนอื่นฟัง แต่เราควรปฏิบัติศีลให้คนอื่นดูว่าเรามีศีล
ให้เราเลือกเอาสัก 1 ข้อ แต่ให้เป็นหัวใจของเราในการปฏิบัติ


“ศีเลนสุขติงยันติ ศีลย่อมยังให้สู่สุคติ

ศีเลนโภคมัปทา ศีลย่อมยังให้เกิดโภคทรัพย์

ศีเลนพุทติงยันติ ศีลย่อมยังให้สู่พระนิพพาน”


3) หิริ คือ ความละอายชั่ว


4) โอตะปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป
อันเป็นเหตุให้เราระวังตัวเอง เป็นการสร้างสติทางอ้อม เพราะคอยระวังไม่ให้กล่าวชั่ว กล่าวคำหยาบ
ซึ่งเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องกัน เมื่อมีความระวัง ก็จะรักษาศีลไปโดยปริยาย


5) พาหุสัจจะ การได้ยิน ได้ฟัง ทำให้เราเจริญ ทำให้เรามีความรู้มากขึ้น
สิ่งที่เคยรู้แล้วก็จะได้กระจ่างมากขึ้น ก็ทำให้ทำลาย ความลังเลสงสัยได้
แล้วทำให้จิตนี้มีความเห็นถูกต้อง ทำให้จิตผ่องใส


6) จาคะ คือการบริจาค
หัวใจของการให้ คือ การให้อภัย
แต่หากไม่ใช้อภัยเขา เขาจะด่าว่าเรามือถือสากปากถือศีล
สูงสุด คือการให้อภัย มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัว


7) ปัญญา
คือ ความเจริญ รุ่งเรือง เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก

พระอาทิตย์สว่างเป็นบางเวลา แต่ปัญญาสว่างตลอดเวลา
และทำตัวเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง และเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นได้
คนที่อยู่ใกล้คนที่มีปัญญา จะเป็นคนเจริญรุ่งเรืองไปด้วย


ศีล 8 ไม่ได้ห้ามให้เข้าสังคม แต่ศีล 8 เป็นศีลของนักบวช พรหมจรรย์
น้ำที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ดื่มได้ คือ น้ำผลไม้ และเป็นน้ำที่ไม่มีสารอาหารที่เกี่ยวกับโปรตีน
แต่หากเรากินเป็นยาก็ไม่ผิด แต่หากว่ากินเพื่อบำรุงบำเรอจะถือว่าผิด


การทำบุญจะถึงในเวลาที่ควรถึง และไม่ถึงในเวลาที่ไม่ควรถึง
เมื่อใดญาติท่านไปเกิดเป็นเปตร บุญนั้นจึงจะสำเร็จแก่ญาติของท่าน
แต่หากเมื่อใดญาติของท่านไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
อสุรกาย สัตว์นรก มนุษย์ เทวดา บุญของเราจะไม่ถึงญาติ เพราะว่า


- สัตว์เดรัจฉาน มีก้อนข้าวและหยดน้ำเป็นอาหาร


- มนุษย์ มีก้อนข้าวหยดน้ำ และปัจจัย 4 เป็นอาหาร


- เทวดา มีทิพยสมบัติเป็นอาหาร


- สัตว์นรก มีความทุกข์ เป็นอาหาร


- อสุรกาย มีมูดคูด อุจจาระ ปัสสวะ ของเน่าเหม็นเป็นอาหาร


ยกเว้นพวกเปรตที่จะมีผลบุญของญาติเป็นอาหาร
เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่า ญาติของเราจะได้รับผลบุญหรือไม่ เป็นเรื่องตอบยากมาก
แต่ก็มีคำถามว่าเป็นไปได้ไหม ที่เราจะไม่มีญาติเป็นเปรตเลย
พระพุทธเจ้าตรัสว่ามนุษย์และสัตว์ในโลกนี้ ไม่มีใครเลย ไม่มีญาติเป็นเปรต
ญาติข้างพ่อข้างแม่ คนที่รู้จักกันก็เป็นญาติทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น ทำบุญแล้วอุทิศให้ ญาติเหล่านั้นจะได้พ้นจากอัตภาพ


บารมี 10 ทัศน์ สำคัญทุกข้อ ถ้าปรารถนาพุทธภูมิ ไม่มีข้อใดด้อยกว่าข้อใด ปัญญาก็สำคัญ
แต่หากมีปัญญาอย่างเดียวไม่ทำทานแล้วจะไปสอนใคร
ถ้าหากตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
เพราะว่าทานเป็นเหตุปัจจัยให้สร้างบริษัท บริวาร มีพระสาวก บารมี 10 ทัศน์ได้แก่


1) ทาน เป็นเครื่องสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างเราและสังคมรอบข้าง


2) ศีล


3) เนกขัมมะ


4) ปัญญา


5) วิริยะ


6) ขันติ


7) สัจจะ


8) อธิฐาน


9) เมตตา


10) อุเบกขา


ธรรม ทุกข้อสำคัญหมด อยู่ที่ว่าเราจะทำข้อใด ๆ ให้ลุล่วงในชาติใด ๆ นิพพานไม่ได้มาอย่างสบาย
ไม่ได้ได้มากจากการอ้อนวอน หรือขอภาวนา แต่นิพพานมาจากการวางและสลัด ไม่ปล่อยให้อะไรมาฉุดเราอยู่
นิพพานคือ ความผ่อนคลาย อิสระ โปร่งเบาสบาย แต่ถ้าเรายังติดอยู่ ยังผลัดวันประกันพรุ่งอยู่ ก็คงอีกนานกว่าจะนิพพาน



คาถาของหลวงปู่ คือ

- ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข

- มีใจอยู่กับกาย ไม่ได้สอดส่ายไปข้างนอก ควบคุมจิตนี้ได้ก็พอแล้ว


การกลัวความมืด เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสัญชาติญาณของมนุษย์
เพราะมนุษย์มีความกลัวติดตัวมาตั้งแต่เกิดแล้ว เพราะว่ามีความกลัวจึงต้องอาศัยที่พึ่งพิง
และที่พึ่งที่เราต้องการชนะความกลัว คือ ศาสนา
และการที่มนุษย์มีศาสนา เพราะมนุษย์มีความกลัวจึงพึ่งสิ่งที่มีอำนาจสูงสุด
แต่ถ้าหากคุณทำวิปัสสนา แล้วยังกลัวอยู่แสดงว่า วิปัสสนาไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับคุณได้ และไม่ทำให้คุณเห็นแจ้ง
เพราะคนที่กลัวที่สุดก็ตายไปแล้วเพราะฉะนั้นที่เรามีชีวิตอยู่ ไม่มีใครหนีพ้นความตายไปได
เพราะความตายเป็นสาธารณะ เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ และแท้ที่จริงที่กลัวนั้น คือ ความตาย
ถ้าหากกลัวความตาย พระพุทธเจ้าให้เจริญมรณานุสติ ความตายมีอยู่ 3 อย่างคือ


1) ขณิกมรณะ คือความตายเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ผิวหนังที่หลุดลอก ฟันน้ำนมที่หักไป ผมที่ร่วงหลุดไป


2) สมมุติมรณะ เช่น แก้วแตก ไมค์เสีย ไม้ผุกล่อน


3) สมุเฉถมรณะ คือตายขาดจากชาติหนึ่งไปอีกชาติหนึ่ง



สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
แต่ไม่ใช่ว่าธรรมะจะแก้กรรมได้ แม้แต่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ก็หนีกรรมไม่ได้
แต่การปฏิบัติธรรมเป็นกุศลกรรม
หากรู้ตัวว่า อวิชชากำลังเกิดขึ้น ก็ต้องทำชีวิตให้เป็นผู้รู้ เพื่อพูดดี คิดดี ทำดี
และทำมาก ๆ ทำถี่ ๆ ทำให้อกุศลกรรม ตามมาไม่ทัน จึงทำให้พ้นจากอกุศลกรรมให้ห่างไกล

จริตมี 6 จริต คือ ราคะ โทสะ โมหะ วิตก,
พุทธิจริต ศรัทธาจริต การเจริญกรรมฐานว่าอยู่ในจริตไหนให้ดูหนังสือวิถีพุทธ

การกรวดน้ำเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น แต่สำคัญที่สุดคือมีน้ำใจที่จะให้
http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539346830&Ntype=38

เพียงแต่เฝ้าดูความสงสัย จะเห็นที่สิ้นสุดของความสงสัย โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท

 บทความธรรมะวันนี้

   ข้อธรรมนี้ หลวงปู่ชา สุภัทโท ท่านเมตตาตอบไว้นานมาแล้ว แต่ยังคงสดใหม่เสมอสำหรับคนทุกสมัย เพราะตราบใดที่ยังมีนิวรณ์เครื่องปิดกั้นหนทางเจริญครอบงำอยู่ ยังก้าวล่วงไปไม่ได้ อาการเหล่านี้ก็ยังคงวนเวียนมาปรากฏ ท้าทายให้หาทางแก้ไขเสมอ
      
       ลองฟังแนวทางจากคำตอบ แล้วนำไปปฏิบัติกันนะคะ
      
       ‘ ง่วงเหงาหาวนอนมาก ทำให้ภาวนาลำบาก ควรทำอย่างไร
      
         มีวิธีเอาชนะความง่วงได้หลายวิธี ถ้าท่านนั่งอยู่ในที่มืด ย้ายไปอยู่ที่สว่าง ลืมตาขึ้น ลุกไปล้างหน้า ตบหน้าตนเอง หรือไปอาบน้ำ ถ้าท่านยังง่วงอยู่อีก ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เดินจงกรมให้มาก หรือเดินถอยหลัง ความกลัวว่าจะไปชนอะไรเข้าจะทำให้ท่านหายง่วง ถ้ายังง่วงอยู่อีกก็จงยืนนิ่งๆ ทำใจให้สดชื่น และสมมติว่าขณะนั้นสว่างเป็นกลางวัน หรือนั่งริมหน้าผาสูงหรือบ่อลึก ท่านจะไม่กล้าหลับ ถ้าทำอย่างไรๆ ก็ไม่หายง่วงก็จงนอนเสีย เอนกายลงอย่างสำรวม ระวังและรู้ตัวอยู่จนกระทั่งท่านหลับไป เมื่อท่านรู้สึกตัวตื่นขึ้นจงลุกขึ้นทันที อย่ามองดูนาฬิกาหรือหลับต่ออีก เริ่มต้นมีสติระลึกรู้ทันทีที่ท่านตื่น
      
         ถ้าท่านง่วงนอนอยู่ทุกวัน ลองฉันอาหารให้น้อยลง สำรวจตัวเอง ถ้าอีกห้าคำท่านจะอิ่มจงหยุด แล้วดื่มน้ำจนอิ่มพอดี แล้ว กลับไปนั่งดูใหม่อีก เฝ้าดูความง่วงและความหิว ท่านต้องกะ ฉันอาหารให้พอดี เมื่อท่านฝึกปฏิบัติต่อไปอีก ท่านจะรู้สึก กระปรี้กระเปร่าขึ้นและฉันน้อยลง ท่านต้องปรับตัวของท่านเอง
      
       ‘ ควรจะนอนหลับมากน้อยเพียงใด
      
         อย่าถาม ตอบไม่ได้ บางคนนอนหลับคืนละประมาณ 4 ชั่วโมงก็พอ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญก็คือ ท่านเฝ้าดูและรู้จักตัวของท่านเอง ถ้าท่านนอนน้อยจนเกินไป ท่านก็จะไม่สบายกาย ทำให้คุมสติไว้ได้ยาก ถ้านอนมากเกินไป จิตใจก็จะตื้อเฉื่อยชา หรือซัดส่าย จงหาสภาวะที่พอเหมาะกับตัวท่านเอง ตั้งใจ เฝ้าดูกายและจิต จนท่านรู้ระยะเวลาหลับนอนที่พอเหมาะสำหรับท่าน ถ้าท่านรู้สึกตัวตื่นแล้วและยังซุกตัวของีบต่อไป นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จงมีสติรู้ตัวทันทีที่ลืมตาตื่นขึ้น
      
       ‘ จะเอาชนะกามราคะที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกปฏิบัติได้อย่างไร
      
         กามราคะจะบรรเทาลงได้ด้วยการเพ่งพิจารณาถึงความ น่าเกลียดโสโครก (อสุภ) การยึดติดอยู่กับรูปร่างกายเป็นสุดโต่งข้างหนึ่ง ซึ่งเราต้องมองในทางตรงข้าม จงพิจารณาร่างกายเหมือน ซากศพและเห็นการเปลี่ยนแปลงเน่าเปื่อย หรือพิจารณาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ม้าม ไขมัน อุจจาระ และอื่นๆ จำอันนี้ไว้และพิจารณาให้เห็นจริงถึงความน่าเกลียดโสโครกของร่างกาย เมื่อมีกามราคะเกิดขึ้นก็จะช่วยให้ท่านเอาชนะกามราคะได้
      
       
‘ เมื่อโกรธ ควรทำอย่างไร
      
         ถ้าท่านมีโทสะในขณะภาวนา ให้แก้ด้วยเมตตาจิต ถ้ามีใครทำไม่ดีหรือโกรธ อย่าโกรธตอบ ถ้าท่านโกรธตอบ ท่านจะโง่ยิ่งกว่าเขา จงเป็นคนฉลาด สงสารเห็นใจเขา เพราะว่าเขากำลังได้ทุกข์ จงมี เมตตาเต็มเปี่ยมเหมือนหนึ่งว่าเขาเป็นน้องชายที่รักยิ่งของท่าน เพ่งอารมณ์เมตตาเป็นอารมณ์ภาวนา แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก เมตตาเท่านั้นที่เอาชนะโทสะและความเกลียดได้
      
         บางครั้งท่านอาจจะเห็นพระภิกษุรูปอื่นปฏิบัติไม่สมควร ท่านอาจจะรำคาญใจ ทำให้เป็นทุกข์โดยใช่เหตุ นี่ไม่ใช่ธรรมะของเรา ท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า 'เขาไม่เคร่งเท่าฉัน เขาไม่ใช่พระกรรมฐาน ที่เอาจริงเอาจังเช่นฉัน เขาไม่ใช่พระที่ดี' นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างยิ่งของตัวท่านเอง อย่าเปรียบเทียบ อย่าแบ่งเขาแบ่งเรา จงละทิฐิของท่านเสีย และเฝ้าดูตัวท่านเอง นี่แหละคือธรรมะของเรา ท่านไม่สามารถบังคับให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตามที่ท่านต้องการหรือเป็นเช่น ท่านได้ ความต้องการเช่นนี้มีแต่จะทำให้ท่าน เป็นทุกข์ ผู้ปฏิบัติภาวนามักจะพากันหลงผิดในข้อนี้ การจับตาดูผู้อื่นไม่ทำให้เกิดปัญญาได้ เพียงแต่พิจารณาตนเองและความรู้สึกของตน แล้วท่านก็จะเข้าใจได้
      
       ‘ ควรจะทำอย่างไรเมื่อสงสัย บางวันวุ่นวายใจด้วยความสงสัยใน เรื่องการปฏิบัติ
      
         ความสงสัยนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทุกคนเริ่มต้นด้วยความ สงสัย ท่านอาจได้เรียนรู้อย่างมากมายจากความสงสัยนั้น ที่สำคัญก็คือ ท่านอย่าถือเอาความสงสัยนั้นเป็นตัวเป็นตน นั่นคืออย่าตกเป็นเหยื่อของความสงสัย ซึ่งจะทำให้จิตใจของท่านหมุนวนเป็นวัฏฏะอันไม่มีที่สิ้นสุด แทนที่จะเป็นเช่นนั้น จงเฝ้าดูกระบวน การเกิดดับของความสงสัยของความฉงนสนเท่ห์ ดูว่าใครคือผู้ที่สงสัย ดูว่าความสงสัยนั้นเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร แล้วท่านจะไม่ตกเป็นเหยื่อของความสงสัยอีกต่อไป ท่านจะหลุดพ้นออกจาก ความสงสัยและจิตของท่านก็จะสงบ ท่านจะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ปล่อยวางความสงสัยของท่านและเพียงแต่เฝ้าดู นี่คือที่สิ้นสุดของความสงสัย
      
       
‘ วิธีฝึกปฏิบัติ (วิธีภาวนา) มีหลายวิธีจนสับสน
      
         มันก็เหมือนกับการจะเข้าไปในเมือง บางคนอาจจะเข้าเมืองทางทิศเหนือ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ ทางถนนหลายสาย โดยมากแล้วแนวทางภาวนาก็แตกต่างกันเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะเดินทางสายหนึ่งสายใด เดินช้าหรือเดินเร็ว ถ้าท่านมีสติอยู่เสมอ มันก็เหมือนกันทั้งนั้น ข้อสำคัญที่สุดก็คือ แนวทางภาวนาที่ดีและถูกต้องจะต้องนำไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ลงท้ายแล้ว ก็ต้องปล่อยวางแนวทางภาวนาทุกรูปแบบด้วย ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่นแม้ในตัวอาจารย์ แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
      
         ท่านอาจจะอยากเดินทางไปเพื่อศึกษาอาจารย์ท่านอื่นอีก และลองปฏิบัติตามแนวทางอื่นบ้างก็ได้ พวกท่านบางคนก็ทำเช่นนั้น นี่เป็นความต้องการตามธรรมชาติ ท่านจะรู้ว่า แม้ได้ถามคำถามนับพันคำถามก็แล้ว และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติอื่นๆ ก็แล้ว ก็ไม่อาจจะนำท่านเข้าถึงสัจธรรมได้ ในที่สุดท่านก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย ท่านจะรู้ว่าเพียงแต่หยุดและสำรวจตรวจสอบดูจิตของท่านเองเท่านั้น ท่านก็จะรู้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ไม่มีประโยชน์ที่จะแสวงหาออกไปนอกตัวเอง ผลที่สุดท่านต้องหันกลับมา เผชิญหน้ากับสภาวะที่แท้จริงของตัวท่านเอง ตรงนี้แหละที่ท่านจะเข้าใจธรรมะได้
      
       ‘ จำเป็นไหมที่จะต้องนั่งภาวนาให้นานๆ
      
         ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนานานนับเป็นหลายๆ ชั่วโมง บางคนคิดว่ายิ่งนั่งภาวนานานเท่าใดก็จะยิ่งเกิดปัญญามากเท่านั้น ผมเคยเห็นไก่กกอยู่ในรังของมันทั้งวันนับเป็นวันๆ ปัญญาที่แท้เกิดจากการที่เรามีสติในทุกๆ อิริยาบถ การฝึกปฏิบัติของท่านต้องเริ่มขึ้นทันทีที่ท่านตื่นนอนตอนเช้า และต้องปฏิบัติให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งนอนหลับไป อย่าไปห่วงว่าท่านต้องนั่งภาวนาให้นานๆ สิ่งสำคัญก็คือท่านเพียงแต่เฝ้าดูไม่ว่าท่านจะเดินอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือกำลังเข้าห้องน้ำอยู่
      
         แต่ละคนต่างก็มีทางชีวิตของตนเอง บางคนต้องตายเมื่อมีอายุ 50 ปี บางคนเมื่ออายุ 65 ปี และบางคนเมื่ออายุ 90 ปี ฉันใดก็ฉันนั้น ปฏิปทาของท่านทั้งหลายก็ไม่เหมือนกัน อย่าคิดมาก หรือกังวลใจในเรื่องนี้เลย จงพยายามมีสติและปล่อยทุกสิ่งให้เป็นไปตามปกติของมัน แล้วจิตของท่านก็จะสงบมากขึ้นๆ ในสิ่งแวดล้อมทั้งปวง มันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำใสในป่า ที่ซึ่งบรรดาสัตว์ป่าที่สวยงาม และหายากจะมาดื่มน้ำในสระนั้น ท่านจะเข้าใจถึงสภาวธรรมของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) ในโลกอย่างแจ่มชัด ท่านจะได้เห็นความอัศจรรย์และแปลกประหลาดทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไป แต่ท่านก็จะยังคงสงบอยู่เช่นเดิม ปัญหาทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นแต่ท่านจะรู้ทันมันได้ทันที นี่แหละคือศานติสุขของพระพุทธเจ้า
      
       ‘ จิตฟุ้งซ่านมากทั้งๆ ที่พยายามจะมีสติอยู่
      
         อย่าวิตกในเรื่องนี้เลย พยายามรักษาจิตของท่านให้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อเกิดรู้สึกอะไรขึ้นมาภายในจิตก็ตาม จงเฝ้าดูมัน และปล่อยวาง อย่าแม้แต่หวังที่จะไม่ให้มีความนึกคิดเกิดขึ้นเลย แล้วจิตก็จะเข้าสภาวะปกติตามธรรมชาติของมัน ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างความดีกับความชั่ว ร้อนกับหนาว เร็วหรือช้า ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีตัวตนเลย อะไรๆ ก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านเดินบิณฑบาตไม่จำเป็นต้องทำอะไรพิเศษ เพียงแต่เดินและเห็นตามที่เป็นอยู่ อย่ายึดมั่นอยู่กับการแยกตัวไปอยู่แต่ลำพัง หรือกับการเก็บตัว ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด จงรู้จักตัวเองด้วยการปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ และเฝ้าดู เมื่อเกิดสงสัยจงเฝ้าดูมันเกิดขึ้นและดับไป มันก็ง่ายๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดทั้งสิ้น
      
         เหมือนกับว่าท่านกำลังเดินไปตามถนน บางขณะท่านจะพบสิ่งกีดขวางทางอยู่ เมื่อท่านเกิดกิเลส เครื่องเศร้าหมอง จงรู้ทันมันและเอาชนะมันโดยปล่อยให้มันผ่านไปเสีย อย่าไปคำนึงถึงสิ่งกีดขวางที่ท่านได้ผ่านมาแล้ว อย่าวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่ได้พบ จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าสนใจกับระยะทางของถนน หรือกับจุดหมายปลายทาง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าท่านผ่านอะไรไป อย่าไปยึดมั่นไว้ ในที่สุดจิตจะบรรลุถึงความสมดุลตามธรรมชาติของจิต และเมื่อนั้นการปฏิบัติก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นและดับไปในตัวของมันเอง
      
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9520000090521

บทความธรรมะ(สอนใจ) ตอน "อหิงสา"

บทความธรรมะ(สอนใจ) ตอน "อหิงสา" 

ขอขอบคุณจาก หนังสือ "แนวทางสู่ความสุข"(หน้า 112-113)
โดยผู้แต่ง "ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา"

เมื่อผู้อื่นมาทำร้ายเรา เราไม่ควรที่จะมีความโกรธความเกลียดอยู่ในจิตใจของเรา แต่เราจะต้องมีความรัก ความเมตตาต่อผู้ที่มาทำร้ายเราแทนที่เราจะไปว่าผู้ที่ทำร้ายเรา เราควรที่จะมาพิจารณาตัวเราเอง และพิจารณาว่าเราบกพร่องตรงไหน เราควรจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งใดบ้าง เพื่อปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น เราใช้โอกาสที่ผู้อื่นมาทำร้ายเราในการฝึกจิตใจของเราให้รู้จักควบคุมอารมณ์ และเราก็ถือโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์นั้นๆจากปัญหานั้นๆ และจากความยุ่งยากเหล่านั้น

อหิงสา หมายถึง จิตใจที่ไม่มีความโกรธ ไม่มีความโมโห ไม่มีการคิดร้ายต่อผู้อื่น หมายถึง คำพูดที่ไม่ดุร้าย ไม่กล่าวร้าย ไม่นินทาในทางที่ไม่ดีเกี่ยวกับผู้อื่น และหมายถึง การกระทำที่ไม่มีการทำร้ายผู้อื่น ไม่มีการทำอะไรที่เสียหายต่อผู้อื่น หรือไม่ใช้กำลังในการโต้ตอบเมื่อผู้อื่นมาทำร้ายเรา

มนุษย์จะต้องรู้จักพูดด้วยความรักความเมตตา ด้วยวาจาที่อ่อนน้อมไม่ทำร้ายผู้อื่นด้วยคำพูดของเรา การกระทำของเราก็ควรจะมีแต่ความรักความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ความกรุณาปราณี ดังนั้นการไม่เบียดเบียนผู้อื่นนั้น ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา โดยการเข้าใจเกี่ยวกับความจริงว่า ทุกคนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเดียวกัน เป็นญาติสนิทกัน เราก็ไม่มีทางที่จะไปคิดร้ายหรือทำร้ายผู้อื่นได้ และเมื่อมีความรักความเมตตาอยู่ในจิตใจของเรา มีความสงบสุขในจิตใจของเรา จะไม่มีความโกรธ ความเกลียด หรือความรุนแรงใดๆทั้งสิ้น เมื่อมีธรรมะประจำใจ ก็จะมีแต่ความรักความเมตตา การเสียสละ การให้ การรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่น การรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนจะทำให้ความเห็นแก่ตัวของ มนุษย์หายไป และการใช้กำลังในการโต้ตอบก็จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ดังนั้น อหิงสา จะอยู่ในตัวเราอย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อ มนุษย์มีสัจธรรม มีความรักความเมตตา มีความสงบสุข และมีธรรมะประจำใจ

เคล็ดลับ 10 วิธี ฝึกสมาธิง่ายๆ

 การฝึกสมาธิง่ายๆ



สำหรับใคร ที่ยังไม่เคยและอยากลองสัมผัส ความสุขเล็กๆ และประโยชน์ดีๆ จากการนั่งสมาธิ วันนี้เรามีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่จะทำให้การฝึกนั่งสมาธิของคุณเป็นเรื่องง่ายมาฝากกัน
1. จัดท่าทางให้ถูกต้อง
               จริงอยู่ว่าใครๆ ก็นั่งขัดสมาธิ เพื่อนั่งสมาธิได้ แต่การนั่งที่ถูกต้อง คือ คุณต้องแน่ใจว่าคุณนั่งตัวตรง หัวตรง นั่นเพราะร่างกายของเราสัมพันธ์กับจิตใจค่ะ หากคุณนั่งตัวงอแล้วละก็ จิตใจของคุณก็จะล่องลอยไป ไม่อยู่กับเนื้อกับตัวนะคะ แต่ไม่ต้องนั่งเกร็งมาก ให้นั่งเหมือนเรากำลังผ่อนคลายดีที่สุด

2. เปิดตานั่งสมาธิ
               บางครั้งการนั่งสมาธิ ไม่จำเป็นต้องหลับตาเสมอไป คุณสามารถเปิดตาไว้ แต่ปรับระดับสายตาให้มองต่ำลง โดยกำหนดจุดให้เพ่งรวบรวมสมาธิไว้ เพราะบางคนเมื่อปิดตาแล้วกลับรู้สึกฟุ้งซ่าน ในหัวสมองเต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ อย่างไรก็ตาม ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าวิธีใดทำแล้วได้ผลมากกว่ากัน

3. กำหนดรู้ลมหายใจ
               การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็นการกำหนดที่ตั้งของสติ เพื่อให้จิตเราอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่นๆ แต่เราไม่จำเป็นต้องไปบังคับการหายใจ แค่ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ

4. นับลมหายใจเข้า-ออก
               การนับลมหายใจเข้าออก เป็นวิธีปฏิบัติสมาธิมาตั้งแต่โบราณ โดยเมื่อคุณหายใจออกก็ให้คุณเริ่มนับหนึ่งในใจ ต่อไปก็เป็นสองสามสี่ตามลำดับ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกว่าความคิดของคุณกำลังล่องลอยออกไปที่อื่น ให้คุณกลับมาตั้งต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง เพื่อให้คุณนำจิตกลับมาที่เดิม

5. ควบคุมความคิดไม่ให้เข้ามารบกวน
               เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณกำลังมีความ คิดเข้ามารบกวนจิตใจ ค่อยๆ ขจัดความคิดเหล่านี้ออกไป โดยหันมาสนใจกับการกำหนดลมหายใจ อย่าพยายามหยุดความคิดในทันที เพราะมันจะทำให้คุณฟุ้งซ่านและไม่สามารถกลับเข้าสู่สมาธิได้อีก

6. กำจัดอารมณ์ให้หมดสิ้น
               มันเป็นการยากที่จะนั่งสมาธิในขณะที่จิตของคุณเต็มไปด้วยอารมณ์ เพราะอารมณ์จะทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆ ในจิตใจ โดยเฉพาะอารมณ์โกรธ กลัว เสียใจ ซึ่งไม่ได้ทำให้คุณอยู่กับปัจจุบัน หรืออยู่กับสิ่งที่เป็นในตอนนี้เลย ให้คุณจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้โดยกำหนดลมหายใจไปที่ความรู้สึกของร่าง กายที่ควบคุมอารมณ์ส่วนนั้น เพราะจะทำให้คุณไม่คิดถึงเรื่องราวที่ทำให้คุณกลัว หรือโกรธอีก แต่หันมาเพ่งกับสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้แทน

7. ความเงียบบ่อเกิดแห่งความสงบ
               การนั่งสมาธิควรจะนั่งในที่เงียบๆ เพื่อทำจิตให้ว่าง ไม่ใส่ใจถึงบุคคล เสียง หรือสิ่งอื่นที่อยู่โดยรอบ เพราะความเงียบจะนำมาซึ่งความสงบเยือกเย็น และความรู้สึกมั่นคง เมื่อไหร่ก็ตามที่ความเงียบภายนอกและภายในประสานกันได้ คุณก็จะรู้สึกได้พักกายพักใจ ผ่อนคลายจากความคิดที่รบกวนคุณอยู่ตลอดมา

8. เวลาในการนั่งสมาธิ
               เมื่อเริ่มต้นนั่งสมาธิใหม่ๆ คุณอาจจะลองนั่งก่อนประมาณสัก 10 นาที และจึงค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าจิตคุณเริ่มนิ่งมากขึ้น แต่อย่าบังคับตัวเองให้นั่งนานเกินไปหากคุณยังไม่พร้อม ทั้งนี้ ระยะเวลาที่เหมาะ คือประมาณ 25 นาที เพราะเป็นระยะเวลาที่ไม่ทำให้รู้สึกปวดเมื่อยร่างกายเกินไปจนรบกวนสมาธิได้

9. สถานที่ในการนั่งสมาธิ
               สถานที่และบรรยากาศก็ช่วยให้คุณทำสมาธิได้ดีขึ้น ซึ่งการนั่งสมาธิในห้องพระจะช่วยให้จิตใจสงบและรู้สึกเป็นสมาธิมาก หรือคุณอาจจะวางสิ่งเล็กๆ ที่คุณชอบ หรือช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายไว้รอบๆ ที่คุณนั่งสมาธิก็ได้

10. มีความสุขไปกับการนั่งสมาธิ
               คนเราหากทำอะไรแล้วมีความสุข เราก็จะทำมันได้ดี และรู้สึกอยากทำต่อไป ในการนั่งสมาธิก็เช่นกัน หากคุณมีความสุขในการนั่งสมาธิ คุณก็จะรู้สึกผ่อนคลายสบายตัวและอยากจะทำต่อไป จนสามารถทำเป็นกิจวัตรที่ทำทุกวันได้

               รับรอง ว่าหากเพื่อนๆ ได้ลองฝึกนั่งสมาธิเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็จะรู้สึกได้ถึงจิตใจที่สดชื่น เบิกบาน และมีสติในการทำสิ่งต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย

ที่มา http://www.zazana.com/dhamma/10-id8844.aspx

กรรมกำหนด

กรรมกำหนด

1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย 
        เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์
2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอยู่เสมอ 
        เพราะชาติก่อนคุณเคยทำทานอาหารแก่คนยากจนในชาติก่อน
3. เหตุใดชาตินี้คุณอดอยากยากจน ไม่มีเสื้อผ้าดีดีสวมใส่
        เพราะคุณตระหนี่ขี้เหนียวไม่ยอมทำทานคนจน ในชาต! ิก่อน
4. เหตุใดชาตินี้คุณมีบ้านเรือนใหญ่โต 
        เพราะคุณเคยถวายข้าวสารเข้าวัดในชาติก่อน
5. เหตุใดชาตินี้คุณมีความเจริญรุ่งเรืองและมีความสุขมาก 
        เพราะคุณเคยถวายเงินสร้างวัดในชาติก่อน
6. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนสวย และ รูปงาม
        เพราะคุณเคยถวายดอกไม้สดบูชาพระด้วยความเคารพในชาติก่อน
7. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนฉลาดปราดเปรื่องมีปัญญาดี 
        เพราะคุณเคยเป็นพุทธม ามกะและทานมังสวิรัติในชาติก่อน
8. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นที่รักของทุกๆ คนและมีเพื่อนมากมาย 
        เพราะคุณเคยสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อทุกคนในชาติก่อน
9. เหตุใดชาตินี้คุณมีพ่อ แม่อยู่พร้อมหน้า 
        เพราะคุณเคารพและให้ความช่วยเหลือ ไม่ดูแคลนคนไร้ญาติในชาติก่อน
10. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นเด็กกำพร้า  
        เพราะคุณเคยยิงนก ตกปลา และพรากสัตว์ในชาติก่อน
11. เหตุใดชาตินี้คุณมีอายุยืนแข็งแรง 
        เพราะคุณเคยปล่อยนก ปล่อยปลา สิ่งมีชีวิตในชาติก่อน
12. เหตุใดชาตินี้คุณอายุสั้น 
        เพราะชาติก่อนคุณเคยฆ่าสัตว์มากมาย
13. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนรับใช้ 
        เพราะชาติก่อนคุณเคยดูถูกเหยียดหยามคนจน
14. เหตุใดชาตินี้คุณมีดวงตาสดใส 
        เพราะชาติก่อนคุณเคยเติมน้ำมันตะเกียงและจุดไฟบูชาพระ
15. เหตุใดชาตินี้คุณโง่ปัญญาอ่อนและหูหนวก 
        เพราะชาติก่อนคุณเคยด่าว่าและหยาบคายต่อหน้าพ่อแม่
16. เหตุใดชาตินี้คุณต้องตายเพราะยาพิษ
        เพราะชาติก่อนคุณเจตนาวางยาในต้นน้ำลำธารให้เป็นพิษ
17. เหตุใดชาตินี้คุณจึงแขวนคอตาย 
        เพราะชาติก่อนคุณใช้ตะข่ายล่าและดักสัตว์
18. ถ้าชาตินี้คุณฆ่าเขา 
        ชาติหน้าเขาก็จะฆ่าคุณ และจะฆ่ากันไป-มาไม่มีสิ้นสุด
19. ถ้าชาตินี้คุณบอกเล่ากฏแห่งกรรม 
        คุณจะเป็นที่เคารพนับถือมากมายในชาติหน้า
ขอขอบคุณ ที่มา http://sites.google.com/site/paknamubonclub/dharma-for-life/dharma-for-lifes

สติมาปัญญาเกิด

สติมาปัญญาเกิด 

  

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต)

                    สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่มีสมาธิเป็นฐานนั้นจะมีพลังมากมีอานิสงส์มาก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะปัญญา แต่กว่าจะตรัสรู้ได้ พระพุทธเจ้าต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ เพราะฉะนั้นฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันอย่าใจลอย ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้า ที่ต้องทำ ท่านจะมีสมาธิ แล้วสมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิต ประจำวัน เรียกว่าสัมปชัญญะ
                    สัมปชัญญะก็คือปัญญาเฉพาะเรื่องนั่นเอง ปัญญาคือความรอบรู้ ส่วนสัมปชัญญะ ก็คือความรู้ชัดรู้จริงที่นำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนั้นได้ ถ้าสติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา
                    ตัวอย่างในการแก้ปัญหา เช่น ตึกถล่มที่รอยัลพลาซ่าโคราช ทุกคนในอาคาร ตกอกตกใจ บางคนช็อควิ่งพล่าน แต่มีคนคนหนึ่งรอดมาได้ เขากำลังกวาดพื้นอยู่ พอเสียงลั่นครืน แกกระโดดวิ่งไปหาเสาใหญ่ ไปหลบที่เสาเพราะคานมันจะหล่น พอคานหล่นมาก็คร่อมแกไว้ แกอยู่พิงเสาไม่ได้วิ่งไปไหน มีสติเพราะฝึกไว้ แต่บางคน ฝึกแล้วยังตกใจทำอะไรไม่ถูก สติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด
                    สติกับสัมปชัญญะต้องมาด้วยกัน สติคือความรู้ทัน สัมปชัญญะคือความรู้เท่า ความรู้เท่าหมายถึงรู้เท่าถึงการณ์ เห็นเหตุแล้วคาดว่าผลลัพธ์อะไรจะตามมา มอง ภาพกว้าง มองหน้ามองหลัง รู้เท่าเอาไว้ป้องกัน รู้ทันเอาไว้แก้ไข พอเกิดปัญญาเฉพาะหน้าขึ้นมาไม่ว่าจะเรื่องอะไร ก็ตาม สติจะช่วยทำให้ท่านระดมปัญญามาแก้ปัญหา เช่น ขับรถบนท้องถนน ถ้าเกิด ยางแตกจะทำอย่างไร บางคนตกใจเสียสติเหยียบเบรครถเลยพลิกคว่ำ บางคน ขับรถบนท้องถนนรถบรรทุกสิบล้อพุ่งสวนเข้าใส่ท่านจะทำอย่างไร ถ้ากดแตร เขายังไม่หลบ บางคนบอกว่ารถบรรทุกแล่นในเลนเราต้องวัดใจกันหน่อย ใครดีใครอยู่ สติเป็นเครื่องกำหนดรู้ว่าเรากำลังทำอะไร บางคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ พอโกรธขึ้นมาแทบจะ ฆ่ากันตาย พอรู้ตัวก็ว่านี่เราถือมีดทำไม เราบ้าอะไรขึ้นมา สติจะเป็นตัวตรวจ ตรวจความ เป็นไปของเรา สัมปชัญญะจะเป็นตัวตัดสินหรือกลั่นกรองว่าอะไรควรไม่ควร เช่น เราโกรธอยากจะไปด่าเขา ถ้าเราไม่มีสติเราก็ไปด่าเขา สติจะเตือนให้เรารู้ตัวว่ากำลัง จะด่า สัมปชัญญะจะเป็นตัวเซนเซ่อร์ที่พิจารณาว่าควรด่าหรือไม่ควร
ในเรื่องกีสาโคตมีที่เล่ามานั้นเธอได้สติรู้ตัวว่ากำลังอุ้มลูกที่ตายแล้ว สัมปชัญญะทำให้ เธอเห็นว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดา
                    สัมปชัญญะคือความรู้ชัด 4 ประการ คือ
                                        1. สาตถกสัมปชัญญะ (ยั้งคิดถึงประโยชน์ตนและท่าน)
                                        2. สัมปายสัมปชัญญะ (เลือกเรื่องที่เหมาะสม)
                                        3. โคจรสัมปชัญญะ (มีธรรมประจำใจ)
                                        4. อสัมโมหสัมปชัญญะ (ไม่หลงลืมตัว)

                    ประการแรก สาตถกสัมปชัญญะ คือยั้งคิดถึงประโยชน์ที่จะเกิดจากการกระทำและ คำพูดของตน ก่อนที่ท่านจะทำอะไรก็ตาม โบราณสอนเราให้ยั้งคิดเสียก่อน เช่น นับ 1-10 การยั้งคิดคือสัมปชัญญะที่ตรวจสอบพฤติกรรมของตัวเอง ก่อนพูด ก่อนทำให้นึกว่าเรื่องที่จะพูดหรือทำมีประโยชน์หรือไม่ คนที่หมั่นตรวจสอบตัวเอง จะทำอะไรไม่ผิดพลาด คนทำอะไรไม่ผิดพลาดก็ไม่มีความทุกข์ความเครียด ส่วนคน ทำผิดเพราะไม่ยั้งคิด ไม่ได้นึกว่าเรื่องที่เราจะพูดจะทำออกไปนั้นมีประโยชน์ไหม สติจะบอกว่าเรากำลังทำอะไร สัมปชัญญะจะเตือนว่าเรื่องที่ทำอยู่นี้มีคุณหรือมีโทษ ให้ยั้งคิดเสียก่อน
                    บางท่านทำไปตามความเคยชิน แก้ปัญหาด้วยอารมณ์ สามีหนุ่ม ภรรยาสาวที่มาจาก ครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกัน ตัวเขาเองก็มักจะทะเลาะกัน ถ้าพ่อแม่เคยใช้ความรุนแรง แก้ปัญหาอย่างไร ลูกของเขาเวลาที่โตขึ้นแล้วแต่งงานก็มักจะแก้ปัญหาอย่างนั้น แม่เคยทำอย่างไรเมื่อทะเลาะกับพ่อ ลูกสาวก็มักจะทำอย่างนั้น เพราะว่าชินกับการ แก้ปัญหาอย่างเดียวกัน แต่ถ้ามีสัมปชัญญะสักนิด และยั้งคิดเสียก่อน พอโกรธ เป็นฟืนเป็นไฟขึ้นมาให้ถามตัวเองว่ามีประโยชน์อะไรไหมที่จะเอาชนะกัน พ่อแม่บางคนด่าลูกอย่างเดียว ถามว่าด่าเพื่ออะไร ตอบว่าเพื่อให้เด็กกลับตัว ถ้าเราด่าอย่างเดียว เด็กจะกลับตัวไหม ถ้ายิ่งด่าเหมือนยิ่งยุ แล้วด่าทำไม การยั้งคิด จะเกิดขึ้นและหันไปใช้เหตุผลอบรมลูก
                    ถ้าท่านไปถนนสายกรุงเทพฯ-สระบุรี จะผ่านหินกอง ก่อนถึงหินกองประมาณ 1 กม. ด้านซ้ายมือจะพบอาคาร 4 ชั้นเป็นร้านอาหารร้านใหญ่ เถ้าแก่ของร้านนี้เคยอย่ตรงสี่แยก เปิดเป็นร้านเล็ก ๆ ขายของมานานแล้ว บังเอิญเป็นที่จอดรถประจำทาง จึงขายดิบ ขายดี พอขายดีได้เงินสะสมขึ้นมาก็ย้ายไปสร้างอาคาร 4 ชั้น คุณทวี วรคุณ รู้จักมักคุ้น จึงแวะรับประทานอาหาร พอรู้ว่าเถ้าแก่จะย้ายร้านจึงถามว่า
                    "คนจีนเขาถือว่า ค้าขายที่ไหนทำมาค้าขึ้นแล้ว เขาจะไม่ย้ายที่แล้วนี่ย้ายห่างไปตั้งหนึ่งกิโล เมตร รถที่ไหนจะไปจอด ไม่กลัวขาดทุนหรือ"
                    ถ้าแก่ตอบว่า "ไม่กลัวขาดทุน"
                    "ทำไมไม่กลัว" คุณทวีซัก
                    เถ้าแก่ตอบว่า "ถ้าขาดทุนถือว่าขาดทุน 4 บาท"
                    "ทำไมขาดทุนน้อยจัง"
                    เถ้าแก่อธิบายว่า "เพราะตอนที่แยกตัวมาตั้งครอบครัวทำธุรกิจเตี่ยให้เงินมาลงทุนแค่ 4 บาท นอกนั้นทำงานหาเงินเองตลอด ขาดทุนแค่ 4 บาท จะกลัวอะไร"
                    วิธีคิดนี้เป็นสาตถกสัมปชัญญะ
                    เถ้าแก่คนนี้มีเหตุการณ์สำคัญที่เปลี่ยนชีวิตอีกตอนหนึ่ง คือแกเคยเล่นการพนัน ในรอบปี หนึ่งจะไปเล่นครั้งหรือสองครั้ง ปรากฎว่าครั้งหนึ่งไปเล่น 3 วัน 3 คืนไม่กลับบ้าน ไม่บอกภรรยาด้วย หมดเงินหมื่นที่สะสมมาเป็นปี พอกลับมาบ้านภรรยาถามว่าไปไหนมา ก็ตอบว่าไปเล่นไพ่แล้วเงินสะสมเป็นหมื่นนั้นเสียพนันหมดเลย
                    ตอนที่เดินทางกลับบ้านเถ้าแก่นึกในใจว่าถ้าภรรยาด่าคำเดียวจะท้าเลิกกันเลย ไหน ๆ เรา มันเลวมาแล้ว ก็ไปตามทางของคนเลว หากภรรยาพูดผิดหูคำเดียวท้าแยกทางกันเลย บังเอิญภรรยาบอกว่า "หมดแล้วก็หมดไป แต่ถ้ารู้ว่าเล่นแล้วหมดตัวก็อย่าไปเล่นอีก" ฟังแค่นี้เถ้าแก่เกิดความสงสารภรรยา คิดว่าเขาดีต่อเราอย่างนี้ เรายังจะเลวไปเล่น อีกหรือ คิดไปคิดมาเลยเลิกเล่นการพนัน ตั้งแต่นั้นมาแล้วก็ทำงานสร้างฐานะมาจน กระทั่งเป็นหลักฐานในปัจจุบัน
                    ครั้งหนึ่งอาตมาไปบรรยายธรรมให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศฟัง ผู้อำนวยการ ท่านหนึ่งขับรถมาส่งที่วัดแล้วก็บอกว่า ภรรยาของผมร้องไห้มา 3 ปีแล้ว เพราะพี่ชาย เธอตาย พี่ชายของภรรยาเป็นหมออยู่สหรัฐฯ มาหัวใจวายตายกะทันหันที่เมืองไทย ร้องไห้สงสารพี่ชายที่ตาย ไม่ใช่ร้องคนเดียว แม่ยายของผมก็ร้องไห้ด้วย เจอหน้ากัน ทีไรร้องไห้ทุกที ไม่เป็นอันทำงานทำการมา 3 ปีแล้ว ผมไปเตือนไม่ได้ เธอจะหาว่า ไม่รักพี่ชายของเธอ ครอบครัวเราไม่มีความสุขมา 3 ปีแล้ว
                    การร้องไห้นั้นสามารถทำได้ แต่ควรพิจารณาว่าจะเกิดอะไร ไม่ใช่ทำไปตามความเศร้า อย่างเดียว ถึงจะร้องไห้สักเท่าไรก็ช่วยอะไรไม่ได้ ญาติตายไปแล้วพระพุทธเจ้าทรง เตือนว่า "น หิ รุณฺณํ วา โสฏก วา" เป็นต้น แปลความว่า "การร้องไห้ความเศร้าโศก หรือคร่ำครวญไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็คงอยู่อย่างนั้น การถวายทักษิณาทานที่ตั้วไว้ดีแล้วในพระสงฆ์จึงจะสำเร็จประโยชน์แก่ญาตินั้นตามควร แก่ฐานะตลอดกาลนาน" การยั้งคิดก่อนทำเช่นนี้จัดเป็นสาตถกสัมปชัญญะ บางคนเป็นคนอารมณ์ไม่ดี หยุดหงิดตลอดวัน คือเป็นความเคยชินอย่างหนึ่ง คนประเภทนี้ความจำดี ใครด่าใครว่าอะไรจำได้หมด เพราะจดใส่ไดอารี่ว่าวันที่เท่านั้น เวลาเท่านั้น คนนั้นด่าฉันว่าอย่างนั้น
                    ท่านลองคิดดูซิว่ารถมีท่อไอเสีย มันไม่เก็บเอาสิ่งไม่ดีไว้ แต่คนเราเสียสุขภาพจิต หาก เก็บแต่เรื่องร้าย ๆ เอาไว้ในความทรงจำ เก็บความสูญเสียคนรักและความล้มเหลว ในอดีตมาเป็นปีศาจที่คอยหลอกหลอนตนเอง คนเหล่านี้เก็บแต่เรื่องร้ายเอาไว้แล้ว ก็ปล่อยมาหลอกหลอนตนเองตลอดเวลา
                    อันที่จริงแล้วอดีตไม่มีความหมายในตัวเอง อดีตมีความหมายเพราะเราไปให้ค่าแก่มัน ต่างหาก ถ้าเราไม่คิดถึงอดีตก็ไม่มีความหมายอดีตผ่านไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง แล้วทำไมจะต้องไปวุ่นวายกับอดีตมองกลับอดีตอย่างมีบทเรียน หาประโยชน์จาก ความล้มเหลว ไม่ใช่ละห้อยหาอดีตมาเป็นข้อถ่วงความเจริญของตนเอง อดีตเป็น บทเรียนที่จะใช้แก้ไขปรับปรุงตนเอง ความผิดหวัง ความล้มเหลวเป็นบทเรียนได้ เพราะฉะนั้นคนบางคนโดนว่าหรืออะไรต่าง ๆ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา มารไม่มีบารมี ไม่แก่ ว่าวขึ้นสูงย่อมมีลมต้าน คนขึ้นสูงย่อมมีอุปสรรค
                    ในทำนองเดียวกันในชีวิตของคนเราควรหาประโยชน์จากเรื่องต่าง ๆ อะไรไม่ดีก็ทิ้งไป ปล่อยไป เก็บแต่สิ่งที่ดีเอาไว้ บางคนถูกด่าถูกว่าแล้วเก็บเอามาคิดมาแค้น เหมือนกับ เพื่อนบ้านปาเมล็ดตำแยใส่บ้านของเรา แทนที่เราจะกวาดให้พ้น ๆ ไป บางคนหาที่ เหมาะ ๆ ในบ้านมาเพาะตำแยเลย รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย พอตำแยออกดอกออก เมล็ดแล้วใครคัน เราคันเอง คนด่าคนว่าเหมือนคนปาเมล็ดตำแยให้นิดเดียว แต่เรามา เพาะเพิ่มเอง เขาด่าเราตั้งแต่บ่ายสองโมงจนล่วงมาตีหนึ่งตีสองแล้วเรายังนอนไม่หลับ เพราะตำแยงอกในหัวใจ ต้องหมุนโทรศัพท์ไปด่าเขากลับคืน ไม่เช่นนั้น นอนไม่หลับ ทำไมเราไม่ปัดให้พ้น ๆ ไป มีประโยชน์แค่ไหนที่จะเก็บเอาไว้ควรลืมและให้อภัยกัน
ถ้าไม่มีการให้อภัยผิด
และไม่คิดที่จะลืมซึ่งความหลัง
จะหาสามัคคียากลำบากจัง
ความผิดพลั้งย่อมมีทั่วทุกตัวคน
                    ประการที่สองคือ สัปปายสัมปชัญญะ หมายถึง เลือก เรื่องที่เหมาะสมกับตนเอง นั่นคือ นอกจากเราจะไม่เก็บเรื่องร้าย ๆ เก็บแต่เรื่องดี ๆ ไว้ในใจแล้ว ก่อนจะทำอะไรก็ตามให้ เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับเรา โบราณสอนว่า เห็นเขาขึ้นคานหาม อย่าเอามือประสานก้น คนทำการใหญ่เกินตัวเอง เกินความสามารถโดยไม่มีคนช่วย บางทีทำไปนาน ๆ เข้าก็ทน ไม่ไหว เกิดความท้อแท้ เพราะฉะนั้นต้องเลือกวิธีที่ชื่อว่าสัปปายะ
                    สัปปายะเป็นภาษาบาลี ตรงกับภาษาไทยว่า สบาย คือพอเหมาะกับตัวเรา ที่ดินราคาแพง แล้วใครได้ประโยชน์ ชาวบ้านต่างจังหวัดขายทีดินกันหมดแล้ว คนกรุงเทพฯ ไปซื้อ ที่ดิน คนชนบทขายที่ดินไปซื้อรถขับฉุยฉายไปมาแล้วรถชนกัน พอหมดเงินก็ไปเป็น ลูกจ้าง ที่ดินสูญไป เกิดความเครียดมีปัญหาครอบครัวตามมา ประเด็นก็คือว่า อะไร เหมาะกับชีวิตของชาวบ้าน การโฆษณาทำให้ชาวบ้านชอบความฟุ้งเฟ้อเกินฐานะจนเป็น หนี้สิน
                    ลองพิจารณาว่า คนกรุงเทพฯ สมัยนี้มีความสุขกว่าคนกรุงเทพฯ เมื่อ 100 ปีก่อน หรือเปล่า คนสมัยนี้โลภกันมากขึ้น เพราะโฆษณาที่โหมเข้ามา ฝ่ายขายก็ต้องการจะขาย มากขึ้น ผู้บริโภคไม่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของตัวเองทำให้เครียดกันมากขึ้น ความสุข ของชีวิตไม่ได้อยู่ที่วัตถุอย่างเดียว แต่อยู่ที่ความพอดี ความเหมาะควร คือเหมาะกับ ตัวเรา เพราะไม่รู้ความเหมาะสมคนจึงมีปัญหา ยิ่งเศรษฐกิจพัฒนามากขึ้น คนก็ยิ่ง ฆ่าตัวตายมากขึ้น เป็นโรคจิตมากขึ้น เพราะคนไม่รู้ว่าอะไรคือเหมาะกับตน วิ่งตามแฟชั่น ดูโฆษณาต่าง ๆ ก็นึกว่าได้อย่างนั้นจึงจะดี แต่ความสุขของคนไม่ได้อยู่ที่วัตถุภายนอก อย่างเดียว
                    ความสุขไม่ได้ไปขึ้นอยู่กับความสำเร็จ และความทุกข์ก็ไม่ผูกติดกับความล้มเหลว คนที่ล้มเหลวอาจจะมีความสุขก็ได้ถ้ารู้จักปล่อยวางยืดหยุ่น คนประสบความสำเร็จ อาจจะเดรียดหนักก็ได้ เพราะกลัวจะล้มเหลว ความสุขจึงไม่ได้อยู่ที่ความสำเร็จ อย่างเดียว
                    ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในป่า มีเจ้าชายองค์หนึ่งมาเห็นก็สงสัยและถามว่า ทำไม พระองค์มาอยู่ในป่า เป็นเจ้าชายอยู่ในวังกลับไม่ชอบ อยู่ในรั่วในวังน่าจะมีความสุข มากกว่ามาอยู่กลางดินกินกลางทราย พระพุทธเจ้าก็เลยถามกลับว่านี่เธอ ลองเทียบ กันดูสิ เธอก็รู้จักพระพุทธเจ้าพิมพิสาร ลองเทียบดูระหว่างเราตถาคตกับพระเจ้า พิมพิสาร ตอนนี้ใครมีความสุขากกว่ากัน เจ้าชายองค์นี้ตอบโดยไม่ต้องคิดว่าพระองค์ มีความสุขมากกว่าพระเจ้าพิมพิสาร
                    ขอให้เปรียบเทียบกับเรื่องสมัยนี้อีกเรื่องหนึ่ง
                    มีผู้ชายแก่ ๆ คนหนึ่ง นั่งอยู่ริมท่าน้ำหน้าวัด วันนั้นเป็นวันทอดกฐิน เถ้าแก่จากกรุงเทพฯ ยกคณะกฐินไปทอด พอพระฉันเพลก็เดินไปที่ศาลาท่าน้ำเห็นชายชราคนนี้ เสื้อก็ไม่ใส่นั่ง ทอดหุ่ยอยู่ไม่ทำอะไร นาน ๆ ก็จะหักกิ่งไม้โยนลงไปในแม่น้ำ เถ้าแก่นึกว่าคนนี้ไม่รู้จักใช้ แรงงานให้เป็นประโยชน์ นั่งเฉย ๆ อยู่ถึงไม่พัฒนา เถ้าแก่ก็ขึ้นไปบนศาลา พอถวาย ผ้ากฐินเสร็จก็ลงมาเพื่อขึ้นรถกลับกรุงเทพฯ เถ้าแก่ก็แวะไปดูชายชราคนนั้นอีก พบว่า ยังนั่งอยู่ที่เดิม ข้าวปลาไม่รู้จักไปกิน นั่งอยู่เฉย ๆ เถ้าแก่ทนไม่ได้ก็เลยถามว่า "ลุงทำอะไรอยู่นี่"
                    ลุงแกก็บอกว่า "ไม่มีตาดูหรือไง ก็นั่งอยู่นี่แหละ"
                    เถ้าแก่ชักฉุน ถามดี ๆ มาตอบอย่างนี้ คนแปลก ๆ อย่างนี้ก็มี ถามว่า "นั่งเฉย ๆ ทำไม งานการไม่ทำ วันนี้วัดทอดกฐิน ทำไมไม่ไปช่วยดูแลทำงานทำการ บ้างซิลุง"
                    ลุงถามว่า "ทำงานไปทำไมล่ะ"
                    "เอ้า! ทำงานก็จะได้มีเงินใช้ซิลุง"
                    "มีเงินใช้แล้วเป็นอย่างไรเล่า"
                    "จะได้มีความสุข"
                    "สุขเป็นอย่างไรล่ะ" ลุงถาม
                    "สุขก็คืออยู่สบาย ๆ ไม่ต้องทำอะไร" เถ้าแก่ตอบ
                    "นี่สุขแล้วไง จะให้เราไปวิ่งเต้นแร้งเต้นกาเป็นโรคประสาทเหมือนเถ้าแก่หรือ" ลุงย้อนถาม
ลุงคนนี้รู้ว่าอะไรเหมาะกับตน บางทีเราไม่รู้ว่า เราแสวงหาอะไร อะไรคือความสบาย ลองนึกดูชีวิตเราต้องการอะไรที่แท้จริงแล้วทำในสิ่งที่เหมาะสบายกับเรา แล้วเรา ก็จะมีความสุข
                    บางทีเสียงนกร้อง เสียงเด็ก ภาพสวย ๆ งาม ๆ มีให้เราเห็นตลอดถ้าเรารู้จัก เปิดรับสิ่งที่ดีงาม ใจเราจะมีความสุขตลอดเวลา
สุขและทุกข์อยู่ที่ใจไม่ใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุขใส
ถ้าไม่ถือก็ไม่ทุกข์พบสุขใจ
เราอยากได้ความสุขหรือทุกข์กัน
                    ประการที่สามคือ โคจรสัมปชัญญะ หมายถึงมีธรรมะประจำใจ คนที่จะมีสุขภาพจิตดี จะต้องมีธรรมะประจำใจตลอดเวลา เขาเรียกว่ามีภูมิคุ้มกัน ถ้าท่านไม่มีภูมิคุ้มกันอันนี้ กระทบกระเทือนอะไรแล้วมันช็อค มันหัก มันพัง ภูมิคุ้มกันในจิตใจนั้นคือ ต้องฉีดวัคซีน เข้าไป วัคซีนในจิตก็คือธรรมะประจำใจ เมื่อท่านจะทนกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษได้ เพราะมีความแข็งแรงทนทานและยืดหยุ่น
                    บางคนถือคติว่า ล้มเพราะก้าวไปข้างหน้า ดีกว่ายืนเต๊ะท่าอยู่กับที่ หรือเถ้าแก่หินกอง บอกว่าถ้าขาดทุน ก็ขาดทุน 4 บาท คติธรรมอะไรก็ได้มีไว้ประจำใจ นโบเลียนมีคติ สอนใจตัวเองว่า คนไม่ทำอะไรผิดคือคนที่ไม่ทำอะไรเลย ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เขาผ่านร้อน ผ่านหนาวเขาจะมีคติธรรมประจำใจ มีคติอยู่อันหนึ่งที่อาตมาใช้เป็นเครื่องเตือนใจ เหมือนกัน คือเราจะศึกษามากอย่างไรก็ตาม เราจะต้องเตือนใจอยู่ข้อหนึ่ง คือคติธรรม ว่า คิดสูงให้ถึงดวงดาว แต่สองเท้าต้องติดดิน ในการทำงานหรือการบริหารเท้าต้อง ติดดินอันนี้ก็จะเตือนใจเราตลอดเวลา คนเรามักพูดว่านักปรัชญาพูดอะไรไม่รู้เรื่อง มันเป็นปัญหาอย่างหนึ่งคือไม่ติดดิน ถึงแม้ว่าเราจะศึกษาธรรมะขั้นสูงมา แต่จะต้อง พูดให้คนฟังรู้เรื่อง ต้องติดดิน อันนี้คือ คติประจำตัวเอง
                    ประการสุดท้าย อสัมโมหสัมปชัญญะ หมายถึงการฝึกใจไม่ให้หลงลืม ต้องใช้ธรรมะ ประจำใจ ไม่ให้เกิดความหลงลืม พอเจอสถานการณ์ที่เป็นปัญหา เราจะรู้ต้องใช้ ธรรมะอะไรทันที เรายั้งคิดก่อนแล้วเอาธรรมะเข้ามาสอนตัวเองตลอดเวลา ปกติ บางคนเวลาทะเลาะกับใครจะโกรธมากจนลืมตัว บางท่านเพื่อไม่ให้หลงลืมเรื่อง ปฏิบัติธรรม จึงให้เลขานุการหรือเพื่อนช่วยจดบันทึกหรือคอยเตือนความจำ ดังเรื่อง พระเจ้าปเสนทิโกศลไปขอคาถาลดน้ำหนักจากพระพุทธเจ้า เพราะน้ำหนักเพิ่มเหลือเกิน จึงขอคาถาลดน้ำหนักจากพระพุทธเจ้า แม้เรื่องลดน้ำหนักก็เทศน์ให้ฟัง ทีนี้พระพุทธ เจ้าก็เทศน์ว่า
มะนุชัสสะ สะทา สะตีมะโต
มัตตัง ชานะโต ลัทธะโภชะเน
ตะนุกุสสะ ภะวันติ เวทะนา
สะณิกัง ชีระติ อายุ ปาละยัง
                    แปลความว่า มนุษย์ผู้ใดมีสติรู้ตัวตลอดเวลา รู้ประมาณในโภชนะที่ได้มารับประทาน ผู้นั้นจะมีเวทนาเบาบาง เขาจะแก่ช้าและมีอายุยืน
                    พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระทัยคาถาลดน้ำหนักนี้มาก ถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กชื่อ สุทัสสนมาณพท่องจำคาถาให้แม่นยำ และให้สุทัสสนมาณพยืนอยู่ข้างโต๊ะเสวย หาก มาณพเห็นว่าพระองค์เสวยพระกระยาหารเกินกำหนด ก็ท่องคาถาออกมาดัง ๆ หลัง จากนั้น ปรากฏว่าเวลาที่มาณพท่องคาถาออกมา พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้สติหยุด เสวยพระกระยาหารทันที ทรงลดปริมาณพระกระยาหารลงทุกวัน โดยวิธีนี้ในที่สุด พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลดและคุมน้ำหนักได้สำเร็จ เพราะอาศัยสุทัสสนมาณพคอย ท่องคาถาเตือนให้นึก ถึงการควบคุมพระกระยาหาร และที่สุทัสสนมาณพกล้าท่อง คาถาข้างโต๊ะเสวย ก็เพราะพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงประทานอนุญาตไว้นั่นเอง เรื่องนี้แสดงถึงคุณค่าของกัลยาณมิตรผู้ช่วยเตือนจิตสะกิดใจไม่ให้หลงลืมธรรมะ ถ้าใครช่วยเตือนไม่ได้ เราก็เตือนตัวเองโดยหาคติธรรมประจำไว้สอนใจ
                    ผู้มีคติธรรมประจำใจย่อมมีเครื่องยับยั้งชั่งใจและมีธรรมะไว้ป้องกันและแก้ไขปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ แม้บางครั้งสถานการณ์อาจจะไม่ตรงกับธรรมะนัก แต่ก็ปรับ เข้าหากันได้ ประเด็นอยู่ที่ว่าท่านควรฟังธรรมะให้มาก ศึกษาธรรมะให้มาก เมื่อถึง เวลาจะเห็นคุณค่าของธรรมะต่าง ๆ ที่ออกมาช่วยเราให้ผ่านพ้นปัญหาชีวิตได้
 
**ขอขอบคุณที่มา  http://www.mongkoltemple.com/page02/articles024.html **